
จากข้อมูลของสถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่นราชนครินทร์ ระบุว่า ปัญหาสุขภาพจิตในปัจจุบันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากเดิมช่วงก่อนโควิด-19 อัตราการทำร้ายตัวเองอยู่ที่ 6 - 6.3 ต่อประชากร 1 แสน แต่ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ตัวเลขเพิ่มขึ้นเป็น 7.3-7.4 ต่อประชากร 1 แสนซึ่งถือว่าสูงมาก โดยปัจจัยหลัก มักเป็นปัญหาเรื่องความสัมพันธ์กับคนในครอบครัว สถานที่ทำงาน หรือในโรงเรียน รวมทั้งภาวะป่วยกายหรือใจเรื้อรัง การใช้สุราและสารเสพติด และภาวะเครียดจากผลกระทบทางเศรษฐกิจ
(ขอบคุณแหล่งที่มาของข้อมูลจาก: https://mgronline.com/qol/detail/9660000089750)

นับตั้งแต่ปี 1992 เป็นต้นมา องค์การสหพันธ์สุขภาพจิตโลก (The World Federation for Mental Health) ร่วมกับ สมาคมนานาชาติ ได้กำหนดให้ทุกวันที่ 10 ตุลาคม ของทุกปี เป็นวันสุขภาพจิตโลก (World Mental Health Day) เพื่อป้องกันการฆ่าตัวตาย และเพื่อให้คนทั่วโลกตระหนักเห็นความสำคัญของสุขภาพจิต ส่งเสริมการเรียนรู้ถึงวิธีบำบัดรักษา การรับมือ และการป้องกันปัญหาด้านสุขภาพจิต อีกทั้งยังส่งเสริมการมีสุขภาพจิตที่ดีอีกด้วย

เพราะปัญหาสุขภาพจิต มีความสำคัญต่อมิติชีวิตทุกด้านของผู้คนในสังคม ดังนั้นทุกคนจึงล้วนมีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพจิตทั้งตัวเองและคนรอบข้าง
แนะนำ DO & DON'T อะไร ควรทำ ไม่ควรทำ สำหรับผู้มีปัญหาสุขภาพจิต
DO • ควรทำ
พูดให้เขาเห็นข้อดีและคุณค่าของตัวเอง
ชวนเขาทำกิจกรรมสร้างสรรค์
รับฟังเขาด้วยความตั้งใจ และไม่ตัดสินใจแทน
DON’T • ไม่ควรทำ
พูดปัด ให้ไปทำสมาธิหรือไปสงบสติอารมณ์
ปล่อยให้เขาจมอยู่กับปัญหาคนเดียว
กดดันว่า 'เมื่อไหร่จะหาย'
อย่าทำเป็นไม่สนใจ หรือใช้คำพูดว่า 'อย่าคิดมาก' เมื่อเขามาปรึกษา

จะรับมือและป้องกันปัญหาสุขภาพจิตได้อย่างไร?
1. รักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบข้าง: ทุกคนล้วนต้องการการยอมรับ ต้องการมีปฏิสัมพันธ์กับคนรอบตัว ดังนั้นการรักษาความสัมพันธ์ที่ดีกับคนรอบตัวจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวันที่เราประสบปัญหาชีวิต การมีคนที่เราไว้ใจและมีคนคอยอยู่เคียงข้างจะช่วยทำให้เราผ่านปัญหา และช่วงเวลาที่ยากลำบากนั้นไปได้ง่ายขึ้น
2. ออกกำลังกาย: ในระหว่างการออกกำลังกาย ร่างกายจะหลั่งสารเอนโดรฟิน ซึ่งเป็นสารแห่งความสุข ช่วยทำให้เรารู้สึกดีขึ้น ดังนั้นการแบ่งเวลาเพื่อออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ จึงเป็นสิ่งที่สำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งต่อสุขภาพกายและสุขภาพใจของเราเอง
3. พัฒนาตัวเองอย่างต่อเนื่อง: การมีเป้าหมายในชีวิต เป็นสิ่งที่จะช่วยให้เรามีความสุขอย่างแท้จริง การลงมือทำตามเป้าหมายจะทำให้เราได้เห็นถึงพัฒนาการของตัวเอง ทำให้รู้สึกว่าชีวิตเรามีความหมายและมีคุณค่ามากขึ้น
4. รู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ ในชีวิต: การรู้จักขอบคุณสิ่งต่างๆ รอบตัวในแต่ละวัน แม้จะเป็นเรื่องเล็กๆ จะทำให้เราฝึกมองโลกในแง่ดี
5. หมั่นตรวจสอบตัวเอง: การตรวจสอบอารมณ์ ความรู้สึกและพฤติกรรมของตัวเองบ่อยๆ จะยิ่งช่วยให้เรารู้เท่าทันว่าเรากำลังสุขภาพจิตที่ดีอยู่หรือไม่
เช็กลิสต์อาการเสี่ยงภาวะสุขภาพจิต
นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
อยากแยกตัว เก็บตัวอยู่คนเดียว
มีอาการเจ็บป่วยทางกายแบบหาสาเหตุไม่ได้
พฤติกรรมกินอาหารผิดปกติ
ไม่มีสมาธิ
มีพฤติกรรมหุนหันพลันแล่น
มีอารมณ์ซึมเศร้า
6. ฝึกสมาธิ: เพราะภาวะความเครียดและวิตกกังวล เกิดจากความคิดของเรา ที่เราส่งใจไปคิดถึงอดีต หรืออนาคต และปรุงแต่งเหตุการณ์ต่างๆ การฝึกสมาธิจะช่วยให้เราอยู่กับปัจจุบัน และรู้เท่าทันอารมณ์ที่เกิดขึ้น
7. นอนหลับให้เพียงพอ: ควรนอนหลับให้เพียงพอ 6-8 ชั่วโมงต่อวัน เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอต่อเนื่องเป็นเวลานาน นอกจากจะมีผลต่อสุขภาพกายของเรา ยังทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ด้วย
8. ดูแลตัวเอง: หมั่นดูแลและเอาใจใส่ตัวเองในทุกๆ ด้าน ทั้งร่างกายและจิตใจ หาเวลาพักผ่อนหย่อนใจ ทำงานอดิเรกที่ชอบบ้าง
9. อย่ากลัวที่จะขอความช่วยเหลือ: เมื่อใดก็ตามที่เรารู้สึกว่ากำลังมีปัญหาด้านสุขภาพจิต นอกจากจะขอความช่วยเหลือจากคนที่เรารักและไว้ใจ การขอความช่วยเหลือหรือพูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการดูแลรักษาสุขภาพใจที่เหมาสะสม

พิเศษ! Doctor Anywhere มอบส่วนลด 10% สำหรับการปรึกษาด้านสุขภาพจิต
ถึง 31 ต.ค. 66 เท่านั้น
เพียงใส่โค้ด HEREFORYOU07 ก่อนปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต / จิตแพทย์
บนแอป Doctor Anywhere
ขั้นตอนที่ 1: ดาวน์โหลดแอป Doctor Anywhere ที่ App Store หรือ Play Store
ขั้นตอนที่ 2: เลือกนัดหมาย/ปรึกษา ’ผู้ให้บริการด้านสุขภาพจิต’ หรือ ‘จิตแพทย์’ ตามต้องการ
ขั้นตอนที่ 3 : กด ‘มีรหัสโปรโมชัน’
ขั้นตอนที่ 4: ใส่โค้ด HEREFORYOU07 ก่อนปรึกษา เพื่อรับสิทธิ์ส่วนลด 10%
ขั้นตอนที่ 5: รับการปรึกษาด้านสุขภาพจิตตามวัน เวลา ที่นัดหมาย
Comments