นักแสดง (Actor) หรือ นักสังเกตการ (Observer)
เคยไหม ที่ไปด่วนตัดสินคนอื่นจากสิ่งที่เขาทำผิด แต่เวลาเราทำผิดก็หาเหตุผลร้อยแปดมาแก้ต่างให้ตัวเอง คุณอาจมีอคติแบบ actor-observer ซึ่งเป็นจิตวิทยาที่พบได้บ่อยและมีผลกระทบอย่างมากต่อการรับรู้และมีการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
เมื่อเราสังเกตเห็นคนอื่นทำผิดพลาด เรามักจะรีบคิดว่าพฤติกรรมของเหล่านั้นมาจากสาเหตุภายใน เช่น "เขาแค่ขี้เกียจ" หรือ "เขาคงไม่มีความสามารถมากพอ" พฤติกรรมเช่นนี้เรียกว่าอคติของผู้สังเกตการณ์ (Observer) เป็นการตอบสนองตามธรรมชาติ ซึ่งสามารถทำให้เราไปตัดสินผู้อื่นโดยที่แท้จริงแล้วเราไม่รู้ว่าสิ่งที่พวกเขากำลังเผชิญอยู่นั้นเป็นอย่างไร
ในทางกลับกัน เมื่อเราทำพลาด เรามักจะโทษสิ่งอื่นๆ เช่น ข้อสอบยาก นอนไม่พอ หรือถูกโน้มน้าวจากคนอื่น ซึ่งเราจะเรียกสิ่งนี้ว่าอคติแบบนักแสดง (Actor) และในฐานะที่เราเป็น "นักแสดง" ในชีวิตของเราเอง เราสามารถเข้าถึงความคิดและเจตนาของเราได้ ทำให้ง่ายต่อการหาเหตุผลให้กับการกระทำของเราและโยนความผิดให้สิ่งอื่น
สัญญาณของอคตินักแสดง-ผู้สังเกตการณ์
อคติของผู้สังเกตการณ์ (Observer bias):
การโทษคนอื่นว่าเป็นสาเหตุของความผิดพลาดนั้น ๆ
ตัวอย่างเช่น: เพื่อนร่วมงานมาประชุมสาย เราจะมองว่าเขาไม่มีความรับผิดชอบ
อคติแบบนักแสดง (Actor bias):
การโทษปัจจัยภายนอกเวลามีเรื่องผิดพลาดเกิดขึ้น
ตัวอย่างเช่น: เมื่อเรามาประชุมสาย เราจะโทษว่ารถติด
การอคติแบบนี้จะส่งผลต่อชีวิตประจำวันเราอย่างไร
การทำความเข้าใจจิตวิทยาอคติแบบนักแสดง-ผู้สังเกตการณ์เป็นสิ่งสำคัญ เพราะมันมีผลต่อการรับรู้และการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ซึ่งสามารถนำไปสู่ความเข้าใจผิด สร้างความขัดแย้งในความสัมพันธ์ และทำให้เรากลายเป็นคนที่ไม่รับผิดชอบต่อการกระทำของเราเอง หากเราไม่ยอมรับความผิดพลาดของตัวเอง เราจะพลาดโอกาสที่จะเรียนรู้และเติบโต ซึ่งจะทำให้การแก้ปัญหาที่คล้ายกันในอนาคตยากขึ้น
การรับรู้และแก้ไขอคติเหล่านี้สามารถช่วยเพิ่มความเห็นอกเห็นใจ ทำให้เราตัดสินใจอย่างเท่าเทียมมากขึ้น และพัฒนาความสัมพันธ์ของเราต่อผู้อื่น
บนแอป Doctor Anywhere เรามีผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตที่ได้รับการรับรอง คอยให้คำปรึกษาปัญหาทุกที่ทุกเวลา ดาวโหลดแอป Doctor Anywhere 💙
Comments