เพราะการทำงานอย่างไม่มีความสุข ส่งผลกระทบทั้งต่อ ตัวพนักงานเอง เพื่อนร่วมงาน คนในองค์กร ไปจนถึงคุณภาพของบริษัท!
ผลการสำรวจกลุ่มคนวัยทำงานในกรุงเทพมหานคร จากวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล (CMMU)
พบว่า 12% ของคนวัยทำงานอยู่ในภาวะหมดไฟ (Burnout Syndrome) และ 57% กำลังตกอยู่ในภาวะความเสี่ยงสูง ซึ่งกลุ่ม Gen Z เป็นวัยที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟมากที่สุดถึง 17% รองลงมาคือกลุ่ม Gen Y ที่ 13% และกลุ่ม Baby Boomer ที่ตกอยู่ในภาวะหมดไฟ 7%
พนักงานที่มีความสุขจะอยู่กับองค์กรนานกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุข 4 เท่า
พนักงานที่มีความสุขจะมีประสิทธิภาพในการทำงานเพิ่มมากขึ้น 12%
พนักงานที่มีความสุขจะทุ่มเทในการทำงานมากขึ้นเป็น 2 เท่า
พนักงานที่มีความสุขจะมีพลังงานในการทำงานมากกว่าพนักงานที่ไม่มีความสุข 65%
ผลสำรวจนี้จึงสะท้อนให้เห็นว่า การดูแลสุขภาพจิตใจของพนักงานในองค์กรเป็นเรื่องจำเป็น หลายบริษัทจึงเริ่มมองหาแนวทางปรับเปลี่ยนเพื่อดูแลสุขภาพจิตใจคนทำงานกันมากขึ้น หนึ่งในนั้นคือการสร้าง "Happy Workplace" หรือ “องค์กรแห่งความสุข” ซึ่งเป็นแนวคิดที่ริเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2513 จากองค์กรสุขภาพของประเทศแคนาดา โดยให้ความสำคัญกับการจัดการความสุข มุ่งเน้นไปที่ความสมดุลระหว่างความสุขของตัวเอง ครอบครัว และสังคม
ปัจจัยอะไรบ้าง? ที่มีผลต่อความสุขในการทำงาน ของพนักงานองค์กร
งานที่มี Work-life Balance
งานที่สร้างคุณค่า และมีความหมายต่อชีวิต
การมีตัวตนในออฟฟิศ
บรรยากาศการทำงานที่ไม่ Toxic ทั้งภายในทีมและภายในองค์กร
มีเส้นทางการเติบโตในองค์กรที่ชัดเจน
มีสวัสดิการที่เหมาะสม ช่วยเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีทั้งชีวิตการทำงานและชีวิตส่วนตัว
ในมุมขององค์กร จะสร้าง Happy Workplace ได้อย่างไร?
เลือกจ้างคนที่อัธยาศัยดี เข้ากับคนในองค์กรได้ แต่ก็ต้องไม่มองข้ามความสามารถในการทำงานด้วย
กระตุ้นให้คนในทีมมีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน เปิดให้มีการสื่อสารแลกเปลี่ยนความรู้สึกอย่างตรงไปตรงมา ไม่มีลำดับขั้นเจ้านายหรือลูกน้อง
มีเวลาทำงานที่ยืดหยุ่น มีกิจกรรมผ่อนคลายภายในบริษัท และสนับสนุนให้พนักงานชวนกันทำกิจกรรม เพียงไม่กี่ชั่วโมงต่อสัปดาห์
ส่งเสริมการเรียนรู้ทักษะใหม่ ที่ไม่ใช่แค่การเรียนรู้ในองค์กรอย่างเดียว
ชื่นชมและให้ Feedback กับพนักงาน สิ่งนี้จะช่วยหล่อเลี้ยงจิตใจพนักงานได้อย่างไม่น่าเชื่อ โดยสามารถทำผ่านการประเมินผลงานประจำปี ซึ่งจะช่วยให้พนักงานทราบถึงความคาดหวังขององค์กร ลำดับความสำคัญ ขอบเขตการทำงาน และคุณค่าของงานที่ทำอยู่
มอบผลตอบแทนและสวัสดิการที่ดี นอกเหนือจากเงินเดือนแล้ว สวัสดิการหรือสิทธิประโยชน์ก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่สร้างความสุขให้คนทำงานได้เหมือนกัน ซึ่งไม่ใช่แค่การมอบสวัสดิการพื้นฐาน แต่ควรมีโปรแกรมให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้พนักงาน
Doctor Anywhere มีบริการโปรแกรมให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้พนักงาน หรือ Employee Assistance Program (EAP) ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่พนักงาน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างมาก! และนอกจากการดูแลสุขภาพจิตของพนักงานแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ สำหรับพนักงานองค์กรโดยเฉพาะ
Comments