top of page
รูปภาพนักเขียนDoctor Anywhere Thailand

Passion = เชื้อไฟ องค์กรยุคใหม่ บริหาร Passion พนักงานยังไงให้ไฟไม่ดับ!?


ทุกวันนี้ คำว่า Passion มักถูกกล่าวถึงอยู่บ่อยๆ หากแปลตรงตัวแล้วจะหมายถึง "ความหลงใหล" หรือ "แรงผลักดัน" จากภายใน ที่ทำให้เรามีแรงมุ่งมั่นในการลงมือทำสิ่งต่างๆ ให้สำเร็จ สำหรับในกลุ่มคนทำงานแล้ว การมี Passion จึงเปรียบเสมือนกับการมีเชื้อเพลิงที่ใช้ขับเคลื่อนการทำงาน ยิ่งมีเชื้อเพลิงเยอะและมากพอเท่าไหร่ ก็ยิ่งขับเคลื่อนการทำงานได้เร็วเท่านั้น แต่หากมีเชื้อเพลิงไม่มากพอหรือเกิดภาวะเชื้อเพลิงหมดก็จะทำให้การทำงานช้าลงหรือกระทั่งไม่สามารถไปต่อได้อีก …

Passion ของพนักงานถือเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับองค์กร เพราะการหมด Passion ในการทำงานนั้นส่งผลร้ายต่อองค์กรมากกว่าที่คิด! ดังนั้นการหมั่นคอยเติมและรักษา Passion ของพนักงานจึงกลายเป็นเรื่องสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปเสียแล้ว



เหตุผลของการหมด Passion ในการทำงานนั้นมีที่มาจากหลายปัจจัย ซึ่งหลักๆ มักเกิดจาก

  • ความเปลี่ยนแปลงและไม่มั่นคงในงาน: เมื่อคนทำงานอยู่ในสภาวะที่ไม่มั่นคง เช่น อาจต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนในงาน หรือมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย อาจทำให้พวกเขาสูญเสียความกระตือรือร้นได้

  • ไม่มีการเติบโต ไม่ได้พัฒนาทักษะ: การรู้สึกว่าตัวเองไม่ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะหรือเรียนรู้บางอย่างในงานอาจทำให้คนๆ นั้นหมด Passion เนื่องจากขาดความท้าทายและการเติบโต

  • สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เหมาะสม: สภาพแวดล้อมการทำงานที่ไม่เอื้อต่อการทำงาน มีแต่ความกดดัน ความสัมพันธ์ที่เป็นพิษ ส่งผลให้พนักงานทำงานอย่างไม่มีความสุข

  • ความไม่พอใจในการบริหารงานหรือระบบการทำงาน: รูปแบบการบริหารและการจัดการขององค์กร มีผลต่อพนักงานโดยตรง หากองค์กรมีระบบการจัดการที่ไม่ดีพอ และแม้แต่การที่จ่ายผลตอบแทนไม่คุ้มค่ากับการทำงาน ก็อาจะทำให้พนักงานหมด Passion ได้ เนื่องจากพวกเขาจะรู้สึกไม่มีคุณค่าและไม่ได้ได้รับการเข้าใจ

  • สภาวะทางร่างกายและจิตใจ: ความเหนื่อยล้าและปัญหาสุขภาพทั้งทางร่างกายและจิตใจ อาจทำให้คนหมด Passion ในการทำงาน เนื่องจากพวกเขาไม่สามารถทำงานอย่างเต็มที่



องค์กรจะสังเกตได้อย่างไร? ว่าพนักงานคนไหนเริ่มหมด Passion

อาการหมด Passion นั้นสังเกตจากภายนอกได้ยากมาก เพราะเป็นเพียงความรู้สึกทางอารมณ์เท่านั้น ไม่เหมือนกับอาการ Burnout ที่แสดงอาการออกมาให้เห็น ต้องหมั่นสังเกตความรู้สึกและจิตใจลึกๆ และสังเกตผลลัพธ์การทำงาน

  • ไม่ค่อยมีการพัฒนาสิ่งใหม่ และขาดความกระตือรือร้น – เนื่องจากสมองไม่ผ่อนคลาย ไม่มีความรู้สึกสนุกในการทำงาน รู้สึกเหมือนถูกบีบบังคับ ไร้ทางออก มองเห็นแต่อุปสรรค จึงไม่สามารถคิดอะไรใหม่ๆ ที่แสดงออกมาเป็นความคิดสร้างสรรค์ได้

  • ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง ทำงานแค่ให้เสร็จแต่ไม่สำเร็จ – คนที่หมด Passion จะทำงานที่ได้รับมอบหมายให้จบไปวันๆ ปราศจากความใส่ใจและพยายามเพื่อให้ผลลัพธ์ออกมาดี เพราะไม่ได้รู้สึกเป็นเดือดเป็นร้อนหากมีคนอื่นทำงานนั้นได้ดีกว่า

  • ซึมเศร้า เหงาหงอย หมดพลัง ไม่มีอารมณ์ขัน – เพราะรู้สึกเบื่อหน่ายกับสิ่งที่ทำอยู่ ส่งผลให้ร่างกายแสดงออกถึงความเครียด ไม่ผ่อนคลาย เครียด สร้างพลังและทัศนคติเชิงลบ

  • ลางาน ขาดงานบ่อย หรือใช้เวลาทำงานในที่ทำงานน้อยลง – พนักงานอาจลางาน ขาดงาน หรือพยายามลดเวลาในที่ทำงานให้น้อยลง เนื่องจากขาดแรงและกำลังใจ ไม่มีความกระตือรือร้นในการทำงานอีกต่อไป

  • มีการพูดคุยถึงเรื่องงานในเชิงลบ – พนักงานอาจพูดคุยหรือระบายกับผู้อื่น ถึงเรื่องเนื้องาน การทำงาน เพื่อนร่วมงาน การบริหารจัดการ และพูดถึงองค์กรในเชิงลบ


องค์กรจะเติม Passion ให้พนักงานได้อย่างไร?

แน่นอนว่าการหมด Passion ของพนักงาน นอกจากจะส่งผลกระทบทั้งเรื่องส่วนตัว เรื่องงาน ยังส่งผลไปถึงความสำเร็จองค์กรด้วย

จากการศึกษาของ Deloitte เมื่อหลายปีก่อนพบว่า คนทำงานของสหรัฐกว่า 87.7% ไม่มีความสุขในการทำงานเพราะทำงานไม่ได้ตรงตามความหลงใหล และมีเพียง 12.3% เท่านั้นที่รู้สึกว่าตัวเองมี Passion ดังนั้นหากใครสักคนเริ่มหมด Passion จึงถือเป็นเรื่องปกติ องค์กรไม่ควรตำหนิหรือลงโทษ แต่ควรมีวิธีเติม Passion ที่ดี ให้พนักงานกลับมามีไฟในการทำงานได้อีกครั้ง!

  • สร้างโอกาสในการเติบโต สนับสนุนและให้แนวทางในการต่อยอดอาชีพ ตามความชอบและความสนใจของพนักงาน

  • หมั่นชื่นชม ให้กำลังใจ และให้รางวัลหรือผลตอบแทน เมื่อพนักงานทำงานสำเร็จตามเป้าหมาย แม้จะเป็นความสำเร็จเล็กๆ ก็ตาม

  • เคารพ รับฟัง และให้เกียรติในทุกความคิดเห็นและทุกการตัดสินใจของพนักงาน

  • หากมีปัญหาใดๆ เกิดขึ้น ให้พูดคุยกันตรงๆ ด้วยเหตุผล ไม่ตำหนิ ติเตียน ไม่กดดันหรือบีบบังคับพนักงานอย่างไร้เหตุผล

  • ลองมอบหมายงานอื่นให้ หากพนักงานรู้สึกเบื่อหน่ายกับตำแหน่งหรืองานปัจจุบันที่ทำอยู่

  • สร้างบรรยากาศภายในองค์กรให้น่าอยู่ สร้างสรรค์ และตอบโจทย์ชีวิตการทำงานของพนักงานให้มากที่สุด องค์กรควรมีการดูแลและช่วยเหลือเกี่ยวกับปัญหาทั้งเรื่องงานและชีวิตส่วนตัวของพนักงาน



เพราะสภาพจิตใจ ล้วนส่งผลต่อการทำงานของพนักงาน Doctor Anywhere มีบริการ Employee Assistance Program (EAP) หรือโปรแกรมให้คำปรึกษาเพื่อเพิ่มความเป็นอยู่ที่ดีให้พนักงาน โปรแกรมนี้จะช่วยฟื้นฟูจิตใจให้กับพนักงานในหลายๆ เรื่อง และนอกจากการดูแลสุขภาพจิตแล้ว ยังมีบริการอื่นๆ สำหรับพนักงานองค์กรโดยเฉพาะ ไม่เพียงแต่ให้ประโยชน์แก่พนักงาน แต่ยังเป็นประโยชน์ต่อองค์กรเป็นอย่างมาก



ดู 163 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Comments


bottom of page