top of page
รูปภาพนักเขียนDoctor Anywhere Thailand

ความกังวลในโลกแห่งสีสัน รู้จักจิตใจที่กังวลของเรา ผ่าน 'Inside Out 2'

อัปเดตเมื่อ 3 ก.ค.



หัวใจเต้นแรงก่อนการนำเสนอครั้งสำคัญ หรือเหงื่อออกขณะที่คุณเตรียมตัวพบปะผู้คนใหม่ๆ ซึ่งล้วนแล้วเป็นการทำงานของความวิตกกังวลนั่นเอง เหมือนกับที่ไรลีย์เจอในภาพยนต์เรื่อง Inside Out 2 ของ Pixar เมื่อเธอต้องเผชิญกับความกังวลในค่ายฮอกกี้ระดับมัธยมปลายเป็นครั้งแรก ซึ่งความรู้สึกนี้เราก็เคยเผชิญกันมาแล้วทั้งนั้น โดยที่บางคนอาจไม่รู้ว่ามันมีผลกระทบตัวชีวิตประจำวันมากแค่ไหน



การปรากฏตัวของว้าวุ่นหรือความวิตกกังวล (Anxiety)


ใน Inside Out 2 ว้าวุ่นไม่ใช่แค่ความรู้สึก แต่เป็นตัวละครที่ถูกจินตนาการให้เป็นรูปร่างสีส้ม ดวงตาโตและผมยุ่งเหยิง พูดเร็วและกังวลอยู่ตลอดเวลา เมื่อตัวละครว้าวุ่นเข้ามาบังคับการในจิตใจของเรา สะท้อนให้นึกถึงช่วงเวลาที่ความวิตกกังวลนี้เข้ามาควบคุมความคิดและการกระทำของเรา


ผลกระทบของความวิตกกังวลต่อชีวิตประจำวัน


เมื่อความวิตกกังวลเพิ่มขึ้นในใจของไรลีย์ เราก็จะเห็นว่าความวิตกกังวลนี้ส่งผลต่อการตัดสินใจและความเชื่อมั่นในตนเองของเธอมากขึ้น และทำให้ความไม่มั่นใจในตนเองก็เข้ามาครอบงำ การสะท้อนถึงความวิตกกังวลในชีวิตจริงของเรานี้ได้อย่างดี หลายครั้งที่เราเคยคิดทบทวนตัวเองหรือหลีกเลี่ยงสถานการณ์ต่างๆ เนื่องมาจากความวิตกกังวลกี่ครั้งแล้ว




การแสดงออกทางกายของความวิตกกังวล


ความวิตกกังวลไม่ได้อยู่แค่ในหัวของเราเท่านั้น แต่ยังมีผลทางร่างกายของเราอีกด้วย เพราะตอนที่เราวิตกกังวล เราอาจรู้สึกหัวใจเต้นเร็ว เหงื่อออก ตัวสั่น หรือคลื่นไส้

การสังเกตุสัญญาณทางกายเหล่านี้มักจะเป็นขั้นตอนแรกในการจัดการกับความวิตกกังวล การรับรู้ถึงความเชื่อมโยงระหว่างความคิดและความรู้สึกทางกายของเรา จะทำให้เราสามารถหาทางสงบสติอารมณ์ทั้งจิตใจและร่างกายของเราได้



ความวิตกกังวลไม่ใช่ศัตรู

ใน Inside Out 2 ได้วางลักษณะตัวละคร ‘ว้าวุ่น’ ให้มีเจตนาที่ดี และหวังดีกับไรลีย์ แม้ว่าจะเข้าใจผิดก็ตาม ความวิตกกังวลโดยพื้นฐานแล้วคือการพยายามปกป้องเราจากภัยคุกคามหรือความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น ตรงนี้ช่วยให้เราเข้าใจว่าความวิตกกังวลของเราเองไม่ใช่ข้อบกพร่องหรือจุดอ่อน แต่เป็นปฏิกิริยาตอบสนองตามธรรมชาติที่บางครั้งอาจจะรุนแรงมากเกินไป จริง ๆ แล้วความวิตกกังวลอาจเป็นประโยชน์ได้โดยเฉพาะมันจะช่วยกระตุ้นให้เราเตรียมตัวให้พร้อมสำหรับเหตุการณ์สำคัญๆ หรือช่วยให้เราตื่นตัวในสถานการณ์ที่อาจเป็นอันตรายได้ สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะจัดการกับความวิตกกังวลอย่างมีประสิทธิภาพ แทนที่จะปล่อยให้ความวิตกกังวลควบคุมเรา


เราจะรับมือกับความวิตกกังวลนี้ได้อย่างไร?


เมื่อไรลีย์และอารมณ์ของเธอเรียนรู้ที่จะจัดการกับความวิตกกังวลแทนที่จะต่อต้านมัน เราก็จะเห็นบทเรียนอันมีค่าในการจัดการกับความวิตกกังวล ซึ่งก็คือ การหายใจเข้าลึกๆ ซึ่งวิธีในการสงบสติอารมณืที่ตัวละครแสดงออกมานั้นเป็นวิธีที้เราสามารถนำมาใช้ได้ในชีวิตจริง 

ภาพยนตร์เรื่องนี้ยังเน้นย้ำถึงความสำคัญของการสื่อสาร การเปิดเผยความกังวลภายในจิตใจของไรลีย์กับเพื่อนๆที่ไว้ใจได้ของเธอ ทำให้ความรู้สึกกังวลของเธอผ่อนคลายมากขึ้น


ยิ่งเราโตขึ้น ความกังวลก็เพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน


"Inside Out 2" กล่าวถึงความวิตกกังวลที่มักทวีความรุนแรงขึ้นในช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้น ขณะที่ไรลีย์ต้องเผชิญกับความท้าทายของวัยแรกรุ่นและสังคมใหม่ๆ ความวิตกกังวลของเธอก็เพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นประสบการณ์ทั่วไปของวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ตอนต้นที่หลายคนเจอในชีวิตจริง


อย่างไรก็ตาม  เราได้เห็นไรลีย์เติบโต ปรับตัว และเรียนรู้ที่จะจัดการกับความวิตกกังวลของเธอเมื่อเวลาผ่านไป การเติบโตนี้สะท้อนให้เห็นถึงการเดินทางในชีวิตจริงที่พวกเราหลายคนประสบกับความวิตกกังวล ซึ่งการรับมือกับมันจะง่ายขึ้นด้วยการฝึกฝนและการสนับสนุนที่ดีจากคนรอบข้าง



"การขอความช่วยเหลือเป็นสัญญาณของความแข็งแกร่ง ไม่ใช่ความอ่อนแอ เราทุกคนสมควรที่จะได้พบกับความสุขและความสำเร็จ แม้จะเผชิญกับความวิตกกังวลในชีวิตก็ตาม"


ปัจจุบันด้วยเทคโนโลยีที่พัฒนาอย่างรวมเร็ว ความช่วยเหลือสามารถเข้าถึงได้ง่ายยิ่งขึ้น หากพบว่าตัวเองกำลังเผชิญกับความวิตกกังวลที่มากเกินกว่าจะรับมือไหว อย่าลืมว่าการสนับสนุนจากผู้เชี่ยวชาญนั้นอยู่แค่เพียงคลิกเดียว บนแอปพลิเคชัน Doctor Anywhereช่วยให้คุณปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตหรือจิตแพทย์เป็นการส่วนตัว ไม่ว่าคุณจะอยู่ที่ไหน พูดคุยกับผู้ชี่ยวชาญเพื่อหาทางออกอย่างมีประสิทธิภาพและเจาะจงเฉพาะบุคคล ช่วยให้คุณรับมือกับความกังวลของตัวเองได้อย่างมั่นใจ


สำหรับการปรึกษาจิตแพทย์


สำหรับการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต

 

อ้างอิง: Pixar's Inside Out (2024)

ภาพ: Disney



ดู 149 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page