Q: ยาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนทำให้น้ำหนักเพิ่มจริงไหม?
A: แม้ว่าผู้หญิงบางคนอาจทานอาคุมกำเนิดแบบฮอร์โมนแล้วน้ำหนักขึ้น แต่จากงานวิจัยโดยรวมแล้วผู้หญิงส่วนใหญ่ไม่ได้มีน้ำหนักเพิ่มขึ้นจากการใช้ยาคุมกำเนิด ปกติแล้วน้ำหนักขึ้นมักเกิดจากการกักเก็บน้ำในร่างกายมากกว่าการเพิ่มของไขมัน แต่สำหรับบางรายยาคุมกำเนิดอาจทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางฮอร์โมน ส่งผลเจริญอาหารมากขึ้นและทานมากกว่าปกติทำให้น้ำหนักขึ้นได้
Q: ยาคุมกำเนิดทำให้เกิดมะเร็งไหม?
A: ยาคุมกำเนิดกับมะเร็งนั้นซับซ้อนมาก มีงานวิจัยบอกว่าการใช้ยาคุมกำเนิดอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งเต้านมและมะเร็งปากมดลูกได้ อย่างไรก็ตามยังช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งรังไข่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้ ผลกระทบโดยรวมต่อความเสี่ยงของมะเร็งอาจแตกต่างกันไปตามบุคคลและระยะเวลาในการใช้ยาคุม ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ให้ดีก่อนเลือกใช้ยาคุมกำเนิด
Q: การมีเพศสัมพันธ์แล้วเจ็บเป็นเรื่องปกติไหม?
A: อาการการเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์สามารถเกิดขึ้นได้บ่อยแต่ไม่นับว่าปกติ เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน หรือปัญหาทางร่างกายอื่นๆ จึงควรปรึกษากับแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและหาทางเลือกการรักษาที่เหมาะสม
Q: จำเป็นต้องสวนล้างช่องคลอดเพื่อทำความสะอาดช่องคลอดไหม?
A: ไม่แนะนำให้สวนล้างช่องคลอดเพื่อทำความสะอาด เพราะช่องคลอดสามารถทำความสะอาดตัวเองได้อยู่แล้ว และการสวนล้างช่องคลอดอาจทำลายสมดุลตามธรรมชาติของช่องคลอด ซึ่งอาจนำไปสู่การติดเชื้อและปัญหาอื่นๆ ได้ การใช้น้ำสะอาดในการทำความสะอาดภายนอกก็เพียงพอแล้ว
Q: สามารถออกกำลังกายระหว่างตั้งครรภ์ได้ไหม?
A: ได้ สามารถออกกำลังกายในระหว่างตั้งครรภ์และถือว่าควรปฏิบัติด้วย แต่ไม่ควรการออกกำลังกายหนักจนเกินไป ควรออกเป็นการ โยคะ เดิน หรือการฝึกการฝึกความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ มีประโยชน์อย่างมากสำหรับผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ เช่น ทำให้อารมณ์ดีขึ้น ลดความเสี่ยงของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ และสุขภาพที่ดีขึ้น
Q: ทานยาบรรเทาอาการปวดประจำเดือนเป็นประจำปลอดภัยไหม?
A: ยาที่หาซื้อได้ทั่วไป เช่น NSAIDs (เช่น พอนสแตน) ถือว่าปลอดภัยในการบรรเทาอาการปวดประจำเดือน อย่างไรก็ตาม การใช้ในระยะยาวอาจนำไปสู่ผลข้างเคียงได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหารหรือปัญหาไต หากทานยาแล้วอาการปวดประจำเดือนยังไม่หายควรปรึกษาแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติม
Q: ผู้หญิงสามารถตั้งครรภ์ในช่วงมีประจำเดือนได้ไหม?
A: แม้ว่าว่าโอกาสจะต่ำแต่ก็ยังสามารถตั้งครรภ์ในระหว่างมีประจำเดือนได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในผู้หญิงที่มีรอบเดือนสั้น สเปิร์มสามารถอยู่รอดในระบบสืบพันธุ์ได้นานถึงห้าวัน และการตกไข่อาจเกิดขึ้นไม่นานหลังจากมีประจำเดือน ผู้หญิงควรรู้และเข้าใจรอบเดือนของตนเอง และพิจารณาการใช้การคุมกำเนิดอย่างสม่ำเสมอเพื่อลดโอกาสในการตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ
ปรึกษาเรื่องการคุมกำเนิดกับสูตินรีแพทย์
มีคำถาม หรือข้อกังวลด้านสุขภาพใดๆ สามารถจองคิวนัดหมายปรึกษาสูตินรีแพทย์ออนไลน์ได้บนแอป Doctor Anywhere เข้าถึงผู้เชี่ยวชาญผ่านการวิดีโอคอล ไม่จำเป็นต้องเดินทางไปพบแพทย์ด้วยตัวเอง สะดวกกว่า ประหยัดกว่า
ค่าบริการปรึกษาสูตินรีแพทย์เริ่มต้น 350 บาท / ครั้ง นัดหมายแพทย์ได้ทุกวัน
พิเศษเดือนแห่งวันแม่ กรอกโค้ด ' MOTHERSDAY ' ลด 12% ทุกการปรึกษาสูตินารีแพทย์ ถึงสิ้นเดือนสิงหานี้เท่านั้น!
ขั้นตอนการปรึกษาสูตินรีแพทย์ออนไลน์
ลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere
เลือก แพทย์เฉพาะทาง
เลือก Obstetrics and Gynaecology - สูตินรีแพทย์
เลือกแพทย์ จากนั้นนัดหมายวันเวลาที่ต้องการปรึกษา
Comments