กำลังประสบปัญหาอยากนอนแต่นอนไม่หลับอยู่ใช่ไหม? หากนาน ๆ เป็นทีคงไม่มีปัญหาอะไร แต่หากนอนไม่หลับเรื้อรังติดกันเป็นเวลานาน- คงต้องดูว่าสาเหตุเกิดจากอะไร เช่น คุณอาจดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือแอลกอฮอล์มากเกินไป ออกกำลังกายหนักช่วงก่อนนอน นอนงีบช่วงเย็น หรืออาจเป็นผลมาจากอาการป่วยทางสุขภาพจิต สำหรับบทความนี้เราจะมาโฟกัสกันที่โรคทางสุขภาพจิตที่สัมพันธ์กับอาการนอนไม่หลับ
โรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้าสัมพันธ์กับโรคทางอารมณ์ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์เศร้าซึมหรืออารมณ์สิ้นหวัง ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมีอาการนอนไม่หลับร่วมด้วย บางรายอาจประสบกับอาการง่วงนอนมากในช่วงกลางวัน รวมทั้งการนอนมากเกินไป (Hypersomnia) ก็เป็นหนึ่งในอาการของโรคซึมเศร้าเช่นเดียวกัน
โรคซึมเศร้าตามฤดูกาล
ผู้ที่ประสบกับโรคซึมเศร้าตามฤดูกาล มักจะมีอาการแค่ช่วงหนึ่งในปีนั้นๆ เห็นได้ส่วนมากในช่วงฤดูฝนหรือฤดูหนาว ที่ส่งผลต่ออารมณ์เหงา หดหู่ เพราะเป็นช่วงที่ท้องฟ้าหม่นหมองไม่สดใส ฝนตกบ่อย อากาศหนาว ฟ้ามืดเร็ว ปัญหาด้านอารมณ์ที่เกิดขึ้นส่งผลให้ผู้ป่วยอาจนอนน้อยหรือเยอะกว่าปกติแล้วแต่บุคคล
โรควิตกกังวล
ผู้ป่วยโรควิตกกังวลจะรู้สึกกลัว หรือกังวลกับสิ่งต่างๆ รอบตัวมากเกินไป ส่งผลให้ใช้ชีวิตได้ยากในแต่ละวัน โรควิตกกังวลยังส่งผลให้ผู้ป่วยนอนไม่หลับ เพราะความกังวลและความกลัวมีส่วนทำให้ร่างกายตื่นตัว จิตใจอยู่ไม่เป็นสุข ลองสังเกตตัวเองได้ว่าเวลามีงานสำคัญ คืนก่อนหน้าคุณอาจจะคิดมาก กังวลว่าจะเกิดความผิดพลาด หรือตื่นเต้นจนเกินไป ทำให้คืนนั้นนอนหลับช้ากว่าปกติ
โรคไบโพลาร์
ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีอารมณ์แปรปรวนสลับกันไป ไม่ขึ้นกับสถานการณ์ใดๆ ทั้งอารมณ์ดีปกติ ก้าวร้าว หรือซึมเศร้า ปัญหานอนไม่หลับในผู้ป่วยไบโพลาร์ จะขึ้นอยู่กับอารมณ์ในช่วงนั้น เช่น ในช่วงอารมณ์ก้าวร้าวรุนแรง ผู้ป่วยอาจนอนน้อยกว่าปกติ ส่วนในช่วงอารมณ์ซึมเศร้า ผู้ป่วยอาจนอนมากกว่าปกติ โดยผู้ป่วยจะเปลี่ยนแพทเทิร์นการนอนก่อนช่วงที่จะสลับอารมณ์ ซึ่งปัญหาเรื่องการนอนนี้ยังเป็นสาเหตุทำให้อาการของผู้ป่วยแย่ลง ไม่ว่าจะเป็นอาการก้าวร้าวหรือซึมเศร้า
แนวทางการรักษาอาการนอนไม่หลับและโรคทางสุขภาพจิต
บำบัดทางความคิดและพฤติกรรม (Cognitive Behavioral Therapy) หรือบำบัดด้วยการพูดคุยกับจิตแพทย์ ใช้ความคิดและพฤติกรรมของผู้ป่วยในการกำจัดความคิดเชิงลบ หรืออาการซึมเศร้าออกไป ซึ่งการรักษาด้วยวิธีนี้จะช่วยแก้ปัญหานอนไม่หลับและโรคทางสุขภาพจิตด้วย ทั้งนี้ผู้ป่วยควรเข้ารับการปรึกษากับจิตแพทย์เพื่อหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมของแต่ละบุคคล
ปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์
คุณสามารถปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์ได้บนแอป Doctor Anywhere พูดคุยและปรึกษาปัญหาการนอนไม่หลับหรือโรคทางสุขภาพจิต ใช้งานได้สะดวกสบาย มีบริการส่งยาภายใน 3 ชม. (เฉพาะ กทม. และปริมณฑล)
ขั้นตอนการปรึกษาจิตแพทย์ออนไลน์
ดาวน์โหลดและลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere
เลือก รับคำปรึกษาออนไลน์
เลือก แพทย์เฉพาะทาง > PSYCHIATRY
กดนัดหมายกับจิตแพทย์ ในวันและเวลาที่ต้องการ
โปรโมชั่นจาก Doctor Anywhere
ปรึกษาจิตแพทย์ 2 / 5 / 10 ครั้ง
เริ่มต้น 2,729 บาท!
ที่มา:
Comments