top of page

เมื่อมีปัญหาสุขภาพตา อย่าปล่อยไว้! ปรึกษาจักษุแพทย์ออนไลน์ได้ทุกเมื่อ



โรคทางร่างกายส่วนใหญ่ยังมีอาการแสดงให้เห็น แต่โรคเกี่ยวกับตามักจะมาแบบไม่มีสัญญาณเตือน กว่าจะรู้ว่าตามีปัญหา ก็เมื่อเกิดอาการที่รุนแรงแล้ว ซึ่งโรคเกี่ยวกับตาสามารถเกิดขึ้นได้กับคนทุกเพศ ทุกวัย ไม่เพียงแต่ในผู้สูงอายุเท่านั้น และยิ่งในปัจจุบัน รูปแบบการใช้ชีวิตและปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ยิ่งส่งผลทำให้ ‘สุขภาพตา’ ของเราแย่ลง ดังนั้นการดูแลและหมั่นตรวจเช็กสุขภาพตาจึงเป็นเรื่องที่ทุกคนควรให้ความสำคัญ




สาเหตุและปัจจัยเสี่ยง ที่ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตา

  • อายุที่เพิ่มมากขึ้น เนื้อเยื่อตาจะเสื่อมลงตามอายุ ทำให้เกิดโรคเกี่ยวกับตาได้ เช่น สายตายาวในผู้สูงอายุ ต้อหิน ต้อกระจก วุ้นในตาเสื่อม

  • การติดเชื้อจากมลภาวะต่างๆ เช่น ลม ฝุ่น ควัน

  • การได้รับแสงจัดๆ เป็นเวลานาน เช่น ผู้ที่ทำงานกลางแจ้ง หรือผู้ที่ต้องพบเจอแสงจ้าตลอดเวลา

  • กินอาหารที่ไม่มีประโยชน์ ขาดสารอาหาร ได้รับวิตามินไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะวิตามินเอ

  • รูปแบบการใช้ชีวิตที่ไม่เหมาะสม เช่น นั่งทำงานหน้าจอทั้งวันโดยไม่พักสายตา จ้องหน้าจอโทรศัพท์มือถือในระยะใกล้เป็นเวลานาน

  • ความผิดปกติทางพันธุกรรม เช่น โรคตาบอดสี โรคตาขี้เกียจ ตาบอดกลางคืน ต้อหิน

  • เป็นโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น เบาหวาน ส่งผลให้เกิดปัญหาข้างเคียงเกี่ยวกับดวงตา

  • สูบบุหรี่จัด และผู้ที่สูดดมควันบุหรี่เรื้อรัง เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดการเสื่อมของจอตา



อาการโรคเกี่ยวกับตา มีอะไรบ้าง?

อาการที่สำคัญของโรคเกี่ยวกับตาเบื้องต้น มักจะมีความผิดปกติในการมองเห็น เช่น เห็นภาพพร่ามัว เห็นภาพซ้อน ภาพบิดเบี้ยว และมีอาการอื่นๆ ร่วมด้วย ซึ่งอาการจะแสดงออกมาแตกต่างกันตามสาเหตุ

  • ปวดศีรษะเรื้อรัง โดยเฉพาะเมื่อต้องใช้สายตา ซึ่งมักเป็นอาการจากสายตาผิดปกติจากการหักเหของแสง เช่น สายตาสั้น สายตายาว สายตาเอียง

  • ปวดตา และรู้สึกมีก้อนเนื้อในตา รวมถึงมีสายตาผิดปกติร่วมด้วย

  • มีขี้ตา เมื่อเกิดจากการติดเชื้อ เช่น โรคริดสีดวงตา มีการระคายเคืองเยื่อบุตา เช่น ภาวะตาแห้ง และมีอาการจากการอักเสบ เช่น ตาบวม แดง ร้อน ร่วมกับอาการมีไข้

  • หนังตาตกข้างเดียว ตาเขหรือตาเหล่ โดยไม่ได้เป็นมาตั้งแต่กำเนิด

หากมีอาการผิดปกติเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเกี่ยวกับตา ต้องตรวจเช็กเพื่อหาแนวทางการรักษาก่อนที่จะกลายเป็นโรคร้าย


โรคเกี่ยวกับตาที่ควรระวัง

  • ต้อหิน เกิดจากความเสื่อมของเส้นประสาทตา ส่งผลให้สูญเสียการมองเห็นได้ในที่สุด อาการที่สังเกตได้ คือ ปวดตา ตามัวลง เห็นรุ้งรอบดวงไฟ มีอาการปวดหัว คลื่นไส้ อาเจียน ร่วมด้วย แต่ในบางคนอาจไม่แสดงอาการเลย

  • ต้อกระจก เป็นภาวะที่เลนส์ตามีความขุ่นมัว ไม่ใสเหมือนปกติ แสงจึงเข้าผ่านดวงตาได้น้อยลง ทำให้ประสิทธิภาพการมองเห็นลดลง อาการที่สังเกตได้ คือ ตาจะค่อยๆ พร่ามัวลงเหมือนมีหมอกหรือฝ้ามาบัง เห็นภาพซ้อน เห็นแสงไฟกระจาย มองสีภาพผิดเพี้ยนไป และค่าสายตาเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

  • วุ้นตาเสื่อม ภาวะนี้เป็นได้เมื่อมีอายุมากขึ้น และพบบ่อยในผู้ที่สายตาสั้น โดยวุ้นตาที่เสื่อมจะเริ่มเหลว หดตัวลง และขุ่นขึ้น เมื่อได้รับแสงจึงเกิดการหักเหเป็นเงาดำ อาการที่สังเกตได้ คือ จะเห็นเป็นจุดหรือเส้นสีดำคล้ายหยากไย่ลอยไปมาโดยเฉพาะเวลากลอกตา

  • จอประสาทตาเสื่อมตามวัย มักพบมากในผู้สูงอายุ อาการที่สังเกตได้ คือ มองภาพไม่ชัด บิดเบี้ยว ตาพร่ามัว มีจุดดำหรือเห็นเงาตรงกลางภาพ ซึ่งควรรีบทำการรักษากับจักษุแพทย์ เพื่อควบคุมไม่ให้การมองเห็นแย่ลงเพราะเป็นอันตรายถึงขั้นสูญเสียการมองเห็นได้


ดูแลป้องกัน 'ดวงตา' ยังไงไม่ให้เสี่ยงโรค?

  • เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ ให้ได้รับสารอาหารครบถ้วน

  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ไม่ใช้สายตาอย่างหักโหม และหาเวลาพักสายตาบ้าง

  • หากต้องเจอแสงแดดจัดๆ หรือมลพิษ ฝุ่น ควัน ให้หาอุปกรณ์ใส่ป้องกันดวงตา เช่น แว่นกันแดด

  • รักษาสุขอนามัยอยู่เสมอ เลี่ยงการเอามือไปสัมผัสดวงตา เพื่อป้องกันการติดเชื้อ

เมื่อมีความผิดปกติใดๆ เกิดขึ้นกับตา ควรรีบปรึกษาจักษุแพทย์ทันที เพื่อจะได้วินิฉัยหาสาเหตุและรักษาโรคเกี่ยวกับตาได้ทัน




ทำความรู้จัก ‘จักษุแพทย์’ เป็นใคร รักษาอะไรเกี่ยวกับตาบ้าง?

‘จักษุแพทย์’ เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเกี่ยวกับดวงตา โดยจะทำการตรวจ วินิจฉัย และรักษาโรค รวมถึงอาการที่ผิดปกติของดวงตา ตั้งแต่อาการเบื้องต้นอย่างการติดเชื้อทั่วไป คันตา ปวดตา แพ้แสง ไปจนถึงอาการตามัว ตาเหล่ มองไม่เห็นชั่วคราว ต้อหิน ต้อกระจก และอาการอื่นๆ ที่กระทบต่อประสิทธิภาพการมองเห็น



จะดีแค่ไหน? หากมีปัญหาที่กังวลเกี่ยวกับดวงตา

แล้วสามารถพูดคุย รับคำแนะนำ หรือปรึกษาจักษุแพทย์ออนไลน์ได้ผ่านแอปพลิเคชัน Doctor Anywhere

ราคาเพียง 450 บาทต่อครั้ง สำหรับการปรึกษา 15 นาที พร้อมบริการจัดส่งยาถึงที่ภายใน 3 ชม.




ขั้นตอนการปรึกษาจักษุแพทย์ออนไลน์

  1. ดาวน์โหลด และลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere

  2. เลือก ‘ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง’

  3. เลือก ‘จักษุแพทย์’ ทำการเลือกแพทย์ที่ต้องการจะปรึกษา

  4. ทำการนัดหมายวัน/เวลา ที่สะดวก


 




ดู 81 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page