
หากพูดถึงเรื่องการคุมกำเนิดแล้ว วิธีการ ‘กินยาคุมกำเนิด’ เป็นวิธีที่ได้รับความนิยมสูง เพราะหากกินยาอย่างเหมาะสมและถูกวิธี จะมีประสิทธิภาพคุมกำเนิดได้สูงถึง 99% เลยทีเดียว
ยาคุมกำเนิด คือ ยาที่มีส่วนประกอบของฮอร์โมนเพศหญิง ได้แก่ เอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรน มีฤทธิ์ยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุมดบางลงจนไม่สามารถรับการฝังตัวของตัวอ่อนได้ และยังทำให้เมือกบริเวณปากมดลูกมีความเหนียวข้นมากขึ้น ทำให้อสุจิไม่สามารถเข้ามาผสมกับไข่ได้นั่นเอง

ประเภทของยาคุมกำเนิด
ยาคุมกำเนิดแบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดหลักๆ ตามประเภทฮอร์โมน
1. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสเตอโรนรวมกันในเม็ดเดียว จึงมีประสิทธิภาพในการป้องกันการตั้งครรภ์ที่สูงมาก และยังช่วยแก้ปัญหาประจำเดือนไม่มาปกติ ช่วยลดการปวดท้องประจำเดือน
ได้ เป็นยาคุมกำเนิดที่นิยมใช้กันทั่วไป
2. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนเดี่ยว
ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพียงอย่างเดียว แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ
แบบที่1: ชนิดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนขนาดต่ำเท่ากันทุกเม็ด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการลดอาการข้างเคียงจากฮอร์โมนเอสโตรเจน ผู้ที่อยู่ในช่วงให้นมบุตรหลังคลอด ผู้ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ต่อหัวใจและหลอดเลือด และผู้ที่มีความเสี่ยงของโรคมะเร็งเต้านม
แบบที่2: ชนิดฮอร์โมนโปรเจสโตโรนขนาดสูง หรือ ‘ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน’ ไม่แนะนำให้ใช้เป็นมาตรฐานการคุมกำเนิด ควรใช้เฉพาะกรณีฉุกเฉินเท่านั้น เช่น มีเพศสัมพันธ์แบบไม่ได้ป้องกัน ป้องกันผิดพลาด หรือมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ยินยอม เนื่องจากส่วนประกอบของตัวยาเสี่ยงต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ และประสิทธิภาพป้องกันการตั้งครรภ์น้อยกว่ายาคุมกำเนิดแบบที่ต้องกินสม่ำเสมอ

การกินยาคุมกำเนิดจะเกิดผลข้างเคียงแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป และผู้ที่สูบบุหรี่ จะมีโอกาสพบได้สูงกว่า
อาการที่พบได้จากการกินยาคุมกำเนิด
อาการคลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เจ็บหน้าอก มักพบได้ในบางคนที่เพิ่งเริ่มกินยา 2-3 แผงแรก ให้แก้ปัญหาโดยกินยาหลังอาหารเย็น หรือก่อนนอน
อาการเจ็บคัดเต้านม มักพบในระยะแรกของการใช้ยา ซึ่งอาการนี้จะหายได้เองในระยะต่อมา
อาการเลือดออกกะปริบกะปรอย อาจพบได้ในระยะแรก หรือในผู้ที่ลืมกินยาบ่อยๆ ดังนั้นควรกินยาอย่างสม่ำเสมอ
ผลข้างเคียงอื่นๆ เช่น อารมณ์แปรปรวน น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น สิวขึ้น ผมร่วง ส่วนใหญ่จะเกิดในระยะแรก และค่อยๆ หายไปเองเมื่อกินยาไปประมาณ 2-3 เดือน
ซึ่งในปัจจุบันยาคุมกำเนิดชนิดใหม่ๆ ได้มีการออกแบบพัฒนาเพื่อลดปัญหาเหล่านี้แล้ว แต่ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะกินยาคุมกำเนิดทุกครั้ง เพื่อเลือกยาให้เหมาะสมกับตัวเอง เพราะการกินยาคุมกำเนิดอย่างเหมาะสมและถูกวิธี จะช่วยลดการเกิดอาการข้างเคียงต่างๆ และสามารถป้องกันการตั้งครรภ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด

กินยาคุมกำเนิดอย่างไรให้ถูกวิธี?
สำหรับการกินยาคุมกำเนิดครั้งแรก หรือเริ่มกลับมากินอีกครั้งหลังหยุดกินไประยะหนึ่ง ควรเริ่มกินภายในวันที่ 1-5 ของช่วงที่มีประจำเดือน (นับวันที่มีประจำเดือนวันแรกเป็นวันที่ 1) เพื่อให้มั่นใจว่าไม่ได้ตั้งครรภ์อยู่ เพราะหากตั้งครรภ์แล้วกินยาคุมกำเนิดอาจเสี่ยงทำให้ทารกพิการได้
การกินยาคุมกำเนิดจะต้องกินเวลาเดิมทุกวัน และกินตามวันที่ระบุบนแผงยา หากลืมกินยา จะทำให้ประสิทธิภาพในการคุมกำเนิดลดลง
ทำอย่างไร หากลืมกินยาคุมกำเนิด?
หากลืมกินยา ให้รีบกินทันทีที่นึกขึ้นได้
* หากลืมกินเกิน 1 วัน ให้กินพร้อมกัน 2 เม็ดในรอบวันถัดไป และควรป้องกันด้วยถุงยางอนามัยร่วมด้วยจนกว่าจะเริ่มกินยาแผงใหม่
* หากลืมกินเกิน 2 วันขึ้นไป ให้เลิกกินยาแผงนั้นไปเลย แล้วเริ่มกินยาแผงใหม่ในรอบประจำเดือนต่อไป และให้ใช้วิธีป้องกันด้วยถุงยางอนามัยแทน
สำหรับการกินยาคุมฉุกเฉิน จะมีทั้งหมด 2 เม็ด ให้กินเม็ดแรกทันทีหลังจากมีเพศสัมพันธ์ ส่วนเม็ดที่ 2 ให้กินหลังจากเม็ดแรก 12 ชั่วโมง
ตรวจเช็กดูวันหมดอายุก่อนกินยาคุมกำเนิดทุกครั้ง ห้ามกินยาที่หมดอายุแล้ว
หากมีอาการผิดปกติระหว่างที่กินยา เช่น คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว เจ็บหน้าอก อย่างรุนแรง ควรรีบปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ทันที
บริการจาก Doctor Anywhere
สามารถพูดคุย รับคำแนะนำ หรือปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ออนไลน์ ได้ทุกที่ ทุกเวลา ตามต้องการ
เริ่มต้นเพียง 2,999 บาท ปรึกษาได้ไม่จำกัดครั้งในระยะเวลา 6 เดือน หรือ 1 ปี
ขั้นตอนการปรึกษาสูติ-นรีแพทย์ออนไลน์

ดาวน์โหลด และลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere
เลือก ‘ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง’
เลือก 'Obstetrics and Gynaecology'
เลือกแพทย์ที่ต้องการจะปรึกษา และทำการนัดหมายวัน/เวลา ที่สะดวก
Comments