“ดึกดื่นกลางคืนแบบนี้ไม่รู้ว่าเธอจะนอนหลับได้ไหม
เหงาเหมือนกันบ้างไหม?
ข่มตานอนแล้วหัวใจก็ยังวุ่นวาย”
- เนื้อเพลง เหงา เหงา (Insomnia) - อิ้งค์ วรันธร
หลาย ๆ คนคงเคยผ่านตากับคำว่า ‘Insomnia’ มาบ้างจากเพลงของนักร้องเสียงใส อิ๊งค์ วรันธร ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับอาการนอนไม่หลับ ถึงจะเป็นเพลงน่ารัก ๆ แต่อาการนอนไม่หลับในเพลงกลับไม่น่ารักอย่างที่คิด! หากใครที่เคยหรือกำลังประสบกับโรคนอนไม่หลับ คงรู้ดีว่ามันแย่แค่ไหน เพราะกว่าจะข่มตาหลับได้ไม่นาน ก็ต้องรีบตื่นไปเรียนหรือไปทำงาน ส่งผลให้รู้สึกไม่สดใสตลอดวัน ในบทความนี้เราจะมาทำความเข้าใจเกี่ยวกับ Insomnia หรือโรคนอนไม่หลับ รวมถึงอาการและแนวทางในการปรึกษานักจิตวิทยา
Insomnia คืออะไร?
Insomnia คืออาการนอนไม่หลับหรือหลับแต่ไม่สนิท อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุทั้งจากความเครียดหรือจากองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น เตียงนอน, อากาศในห้องนอน, หรือพฤติกรรมการใช้ชีวิต เป็นต้น
นอนไม่หลับ หลับไม่พอ ส่งผลเสียอย่างไร?
การนอนไม่พอจะทำให้คุณรู้สึกไม่แอคทีฟไม่สดชื่นตลอดวัน ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุทางถนน เช่น การเผลอหลับในขณะขับรถ ซึ่งอาจร้ายแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้
7 อาการทั่วไปที่พบในโรคนอนไม่หลับ
1. หัวถึงหมอนตั้งนานก็ยังไม่หลับ
2. ตื่นกลางดึกบ่อย ๆ
3. ตื่นมาเช้าตรู่ กลับไปนอนต่อก็ไม่หลับ
4. ไม่สามารถนอนงีบกลางวันได้ แม้จะเหนื่อยล้า
5. รู้สึกเหนื่อยล้าหลังจากตื่นนอน
6. รู้สึกเหนื่อยและหงุดหงิดง่ายระหว่างวัน
7. รู้สึกไม่โฟกัส เหม่อลอย เนื่องจากอ่อนเพลีย
6 ปัจจัยทั่วไปของโรคนอนไม่หลับ
1. ความเครียด ความกังวล หรือโรคซึมเศร้า
2. มีเสียงรบกวนในการนอน
3. อากาศในห้องนอนเย็นหรือร้อนเกินไป
4. เตียงนอนแข็ง นอนไม่สบาย
5. การดื่มแอลกอฮอล์ กาแฟ มากเกินไป
6. การทำงานเป็นกะ ทำให้เวลานอนเปลี่ยนไปมา
วิธีแก้อาการนอนไม่หลับเบื้องต้น
✔พยายามนอนและตื่นในเวลาเดิมทุกวัน (7-8 ชั่วโมง)
✔เว้นการกินของหนัก ๆ ก่อนนอน 2 ชั่วโมง
✔ ไม่ดื่มกาแฟ/แอลกอฮอล์ ในปริมาณมากเกินไป
✔ ไม่นอนกลางวันเกิน 30 นาที
✔ ไม่นอนงีบตอนเย็น
✔ พยายามไม่เล่นมือถือก่อนนอน
✔ พยายามปล่อยวางความเครียด
ทำไมถึงต้องปรึกษานักจิตวิทยา?
นักจิตวิทยาจะช่วยหาสาเหตุที่ทำให้คุณนอนไม่หลับ โดยอาจดูว่าสาเหตุนั้นมาจากความเครียดหรือพฤติกรรมต่าง ๆ ที่อาจส่งผลให้นอนไม่หลับ ยกตัวอย่างเช่น การออกกำลังกายตอนกลางคืน, ดูหนังก่อนนอนบนเตียง, การไถหน้าฟีดบนโซเชียลก่อนนอน, หรือการดื่มกาแฟช่วงเย็น เป็นต้น โดยนักจิตวิทยาอาจแนะนำให้คุณปรับพฤติกรรมดังกล่าวเพื่อให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น หรืออาจแนะนำวิธีผ่อนคลายหรือการทำสมาธิให้จิตใจสงบสำหรับคนที่อยู่ในภาวะเครียดและจิตใจว้าวุ่น ทั้งนี้คำแนะนำอาจแตกต่างกันไปแต่ละบุคคล เนื่องจากสาเหตุที่ไม่เหมือนกัน
คุยกับนักจิตวิทยาออนไลน์บนแอป Doctor Anywhere
นอนไม่หลับ หลับไม่สนิท ปรึกษานักจิตวิทยาบนแอป Doctor Anywhere ผ่านการวิดีโอคอลออนไลน์ คุณสามารถเลือกนักจิตวิทยาที่ต้องการจากนั้นทำการนัดเวลาปรึกษา สำหรับการปรึกษานักจิตวิทยาบนแอป Doctor Anywhere จะอยู่ในหมวด ‘ผู้ให้บริการสุขภาพจิต’ หรือ ‘Mental Health’ มีค่าใช้บริการอยู่ที่ 1,000 บาท ต่อการปรึกษา 1 ครั้ง (30 นาที)
คลิกดาวน์โหลดแอป Doctor Anywhere
ที่มา:
https://www.sleepfoundation.org/insomnia/what-causes-insomnia
https://www.nhs.uk/conditions/insomnia/
https://www.pinerest.org/how-psychologists-help-with-insomnia-blog/#:~:text=A%20psychologist%20will%20help%20you,might%20be%20interfering%20with%20sleep.
Comentários