top of page
Bhawna Bijlani

วิธีแก้ภาวะ Burnout Syndrome จากการเรียนออนไลน์

อัปเดตเมื่อ 19 ต.ค. 2564


ชีวิตวัยเรียนไม่ว่าจะมัธยมหรือมหาลัย คือ ช่วงเวลาที่คุณจะได้เรียนรู้สิ่งที่สนใจในห้องเรียน ทำกิจกรรมพบปะผู้คน และใช้ชีวิตสนุกสนานกับเพื่อนๆ


การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ทำให้ช่วงชีวิตที่ควรสนุกที่สุดของคุณหายไป นักเรียน/นักศึกษาต้องเปลี่ยนมาเรียนออนไลน์ ซึ่งมาพร้อมกับปัญหามากมายจนทำให้หลายคนรู้สึกหมดไฟในการเรียนออนไลน์ ทั้งงานเยอะ เรียนไม่เข้าใจ แถมยังไม่ได้ใช้ชีวิตอย่างที่ควร


บทความนี้ เราจะมาดูกันว่าสาเหตุที่ทำให้หลายคนหมดไฟมีอะไรบ้าง รวมถึงวิธีแก้ปัญหา Burnout Syndrome ให้ทุกคนยังพอมีไฟเรียนต่อจนกว่าสถานการณ์จะกลับมาเป็นปกติ และได้กลับไปเรียนในคลาสเรียนอีกครั้ง ในท้ายบทความ ยังมีบริการปรึกษานักจิตวิทยาสำหรับใครที่ต้องการคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญอีกด้วย


คุณกำลังตกอยู่ในภาวะ Burnout Syndrome หรือเปล่า?

Burnout Syndrome คือ ภาวะความเครียดรุนแรงที่นำไปสู่ความเหนื่อยล้าทางกายและใจ จนไม่อยากทำอะไร หรือที่เราเรียกกันว่าหมดไฟนั่นเอง บางครั้งจะรู้สึกไม่อยากตื่นมาเรียน มีความคิดด้านลบ รู้สึกสิ้นหวังกับชีวิต ซึ่งอาการดังกล่าวอาจส่งผลให้ประสิทธิภาพในการเรียนของคุณลดลงด้วย


สัญญาณของอาการ Burnout Syndrome

  1. เหนื่อยล้า : หมดแรงกายแรงใจ อาจมีอาการปวดหัว ปวดท้อง พฤติกรรมการกินและการนอนเปลี่ยนไป

  2. อยากอยู่คนเดียว : คนที่มีอาการ Burnout Syndrome อาจรู้สึกเหนื่อย ไม่มีอารมณ์ หมดเอเนอร์จี้ในการเข้าสังคมหรือปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น

  3. หาทางหลบหนีจากความจริง : คุณอาจต้องการหนีออกไปเที่ยวเพื่อพักผ่อนจิตใจ หรือพยายามหาตัวช่วยบรรเทาความรู้สึกหดหู่ เช่น กินอาหาร ดื่มแอลกอฮอล์ หรืออาจร้ายแรงถึงขั้นใช้สารเสพติด

  4. กลายเป็นคนขี้หงุดหงิด : หากไม่ควบคุมอารมณ์ให้ดี อาจเผลอหงุดหงิดใส่คนใกล้ชิดโดยไม่ตั้งใจ จนมีปัญหาทะเลาะกัน

  5. ป่วยบ่อยขึ้น : อาการ Burnout Syndrome อาจทำให้ภูมิคุ้มกันในร่างกายของคุณลดลง ส่งผลให้ป่วยง่ายขึ้น มีไข้หวัด อาการนอนไม่หลับ และนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพจิต


สาเหตุที่อาจทำให้หมดไฟจากการเรียนออนไลน์

  • ภาระงานที่ได้รับมีมากขึ้นจนไม่มีเวลาพักผ่อน

  • เรียนไม่เข้าใจ ตามเพื่อนหรืออาจารย์ผู้สอนไม่ทัน

  • อุปกรณ์ในการเรียนไม่พร้อม เช่น สัญญาณอินเทอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ โต๊ะเก้าอี้ที่เหมาะแก่การนั่งเรียนนานๆ

  • ห่างจากการเข้าสังคม และใช้ชีวิตกับเพื่อนๆ

  • เครียดสะสมเป็นเวลานาน ไม่มีกิจกรรมผ่อนคลายหลังเลิกเรียน


วิธีแก้ไขภาวะ Burnout Syndrome

1) ออกกำลังกายสลายความเครียด

ถึงแม้จะฟังดูน่าเบื่อ แต่การออกกำลังกายช่วยบูสต์อารมณ์ ปัดเป่าความเครียดออกไปได้จริงๆ ขอแค่ให้ได้ขยับตัวบ้างในแต่ละวัน อาจเป็นการเดินเร็วรอบๆ หมู่บ้าน หรือสวนสาธารณะ เต้นตามคลิปออกกำลังกายในยูทูป หรือกิจกรรมเล็กๆ น้อยๆ ก็ได้


2) กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สารอาหารครบ

เลือกอาหารที่มีประโยชน์ หรือสารอาหารที่จะช่วยให้อารมณ์ดี เช่น โอเมก้า 3, ดาร์กช็อกโกแล็ต, กาแฟ, ผักและผลไม้ หรืออาจวางแผนการกินให้ตัวเองได้กินตามใจซัก 1 วัน ต่อสัปดาห์ ไม่หักโหมมากเกินไป เพื่อสุขภาพใจที่ดีขึ้น


3) จัดการเวลานอน ให้ตัวเองได้พักผ่อนเยอะๆ

การนอนสำคัญต่อร่างกายในหลายๆ ด้าน ทั้งสุขภาพและอารมณ์ ดังนั้น ควรพยายามจัดการเวลานอนให้ดี เลี่ยงการดื่มกาแฟช่วงใกล้เวลานอน งดเล่นโทรศัพท์ก่อนนอนเพื่อให้นอนหลับสบายยิ่งขึ้น


4) ระบายความทุกข์

เมื่อเริ่มรู้สึกว่าเครียดมากๆ อาจเริ่มปรึกษาคนใกล้ตัวอย่างเพื่อนหรือครอบครัว ระบายปัญหาความทุกข์ใจออกไป เป็นทั้งผู้เล่าและผู้ฟังที่ดีให้กันและกัน ถ้ารู้สึกว่ายังไม่ดีขึ้น อาจเริ่มมองหาความช่วยเหลือจากผู้เชี่ยวชาญโดยตรง


Burnout หมดไฟ ปรึกษานักจิตวิทยา รับคำแนะนำที่เหมาะสม

หากคุณกำลังตกอยู่ในภาวะ Burnout Syndrome หรือมีความรู้สึกหดหู่ ไม่มีแรงกายและใจในการเรียน ลองเข้ามาปรึกษาพูดคุยกับนักจิตวิทยาออนไลน์ได้ที่แอป Doctor Anywhere เพื่อทำความเข้าใจตัวเองให้มากขึ้น โดยจะเป็นการปรึกษาในรูปแบบวิดีโอคอล คุณสามารถนัดหมายแพทย์ได้ตามเวลาที่ต้องการ ราคาเข้าถึงได้ ช่วยลดภาระในการเดินทาง และค่าใช้จ่ายยิบย่อย สามารถนัดหมายได้ทุกวัน ตั้งแต่ 09.00 - 20.00 น.


ค่าใช้จ่ายในการปรึกษานักจิตวิทยา 1,000 / ครั้ง (ประมาณ 30 นาที)


 

โปรโมชั่นจาก Doctor Anywhere

ปรึกษานักจิตวิทยา 2 / 5 / 10 ครั้ง

เริ่มต้น 1,499 บาท!


 




ดู 3,324 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Comments


bottom of page