จิตแพทย์อาจเป็นคำศัพท์ที่เราคุ้นเคยเวลานึกถึงแพทย์เฉพาะที่ให้คำแนะนำที่เราสามารถปรึกษาและเยียวยาปัญหาด้านความคิดและจิตใจ แต่อันที่จริงแล้วผู้เชี่ยวชาญด้านนี้มีหลายลักษณะโดยมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป
จิตแพทย์ (psychiatrist) คือ แพทย์ผู้ที่จบด้านการแพทย์แล้วต่อแพทย์เฉพาะทางด้านจิตเวชศาสตร์ซึ่งแพทย์ด้านนี้ให้ความสนใจเรื่องของความปกติ เรื่องโรค และการรักษาขึ้นอยู่กับดุลยพินิจไม่ว่าจะการใช้ยาหรือการให้คำแนะนำในการปรึกษาพูดคุยกับนักบำบัดหรือเรียกว่านักจิตวิทยา
นักจิตวิทยา (psychologist) คือ ผู้ที่ศึกษาระดับปริญญาตรี -โท -เอก ทางด้านจิตวิทยา ส่วนใหญ่จะสนใจเรื่องจิตใจในลักษณะทั่วไป การพัฒนาศักยภาพในกรณีของจิตวิทยาเฉพาะทาง เช่น จิตวิทยาคลินิก (clinical psychology) จะเน้นด้านความผิดปกติทางจิตมากกว่าแขนงอื่น โดยลักษณะการให้การรักษาคือการให้การปรึกษา พูดคุย ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหรือทัศนคติ
จิตบำบัด (Psychotherapy) คือ ผู้ให้บริการที่เหมาะกับปัญหาสุขภาพจิตที่อาจได้รับการวินิจฉัยจากจิตแพทย์หรือมีอาการบ่งชี้ตามเกณฑ์ เช่น ซึมเศร้า (depression) ตื่นกลัว (panic) PTSD (post-traumatic stress disorder) วิตกกังวล (anxiety) อารมณ์ร้อน (anger) คาดหวังสูง ขาดแรงจูงใจ กลัวการอยู่คนเดียว หวาดระแวงคน ความก้าวร้าว เป็นต้น กล่าวคือเป็นกลุ่มปัญหาสุขภาพจิตที่ต้องการบำบัดรักษาโดยไม่ใช้ยา
ดังนั้น สำหรับผู้ที่ต้องการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตควรทราบถึงความแตกต่างเบื้องต้น Doctor Anywhere เราสามารถให้คำแนะนำหรือเลือกผู้เชี่ยวชาญของเราที่ครอบคลุมในการให้คำปรึกษาแก่ท่านอย่างเหมาะสม
Comments