top of page

ตรวจโควิดแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร? ตรวจแบบไหนดี?

อัปเดตเมื่อ 7 ก.ย. 2565



การตรวจโควิด-19 เป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ โดยเฉพาะผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ที่เริ่มมีอาการต้องสงสัย ควรเข้ารับการตรวจโควิด-19 ทันที ด้วยวิธีการที่เหมาะสม ซึ่งการตรวจโควิด-19 ถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการแพทย์ จึงทำให้หลายคนยังสงสัยกันอยู่ว่ามีวิธีตรวจกี่แบบ และแต่ละแบบต่างกันอย่างไร ควรตรวจแบบไหนดี

 

วิธีตรวจโควิด-19 มีกี่แบบ?

ปัจจุบัน วิธีการตรวจโควิด-19 มีอยู่ 2 แบบหลักๆ คือ

  1. Antigen Test Kit (ATK) หรือ Rapid Antigen Test

  2. Real Time Polymerase Chain Reaction (RT-PCR)



การตรวจแบบ ATK กับ RT-PCR ต่างกันอย่างไร?


Antigen Test Kit (ATK) หรือ Rapid Antigen Test เป็นวิธีการตรวจโควิด-19 ที่สะดวกและรวดเร็ว รู้ผลภายใน 15 - 30 นาที ซึ่งทุกวันนี้มีชุดตรวจ ATK แบบ Home use หรือ Self-test สำหรับให้ผู้ตรวจซื้อมาตรวจเองที่บ้านได้ กับชุดตรวจแบบ Professional use สำหรับตรวจที่โรงพยาบาลและคลินิกเวชกรรม

การตรวจ ATK เป็นการตรวจหาชิ้นส่วนโปรตีนของเชื้อไวรัสด้วยการเก็บตัวอย่างเชื้อจากสารคัดหลั่งบริเวณลำคอและหลังโพรงจมูก นำมาหยอดน้ำยาในตลับตรวจเพื่อหาเชื้อเบื้องต้น ซึ่งหากตรวจด้วยขั้นตอนและชุดตรวจที่ไม่ได้มาตรฐานก็อาจทำให้ผลตรวจคลาดเคลื่อนได้ ดังนั้น จึงควรใช้ชุดตรวจที่ผ่านมาตรฐาน ขึ้นทะเบียนกับทาง อย. แล้วเท่านั้น หรือเลือกตรวจกับสถานที่ซึ่งได้รับการขึ้นทะเบียนรับรองจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ อีกทั้งการตรวจด้วยวิธีนี้อาจตรวจไม่พบเชื้อหากเชื้อในร่างกายมีปริมาณน้อย ซึ่งต้องรอ 3 - 5 วันก่อนตรวจ หลังจากสัมผัสเชื้อ


Real Time Polymerase Chain Reaction (RT-PCR) เป็นวิธีการตรวจโควิด-19 ที่องค์การอนามัยโลก ( WHO) แนะนำ เนื่องจากมีความแม่นยำสูง ใช้กันแพร่หลายในหลายประเทศ สามารถนำผลตรวจไปใช้ยืนยันการทำงานและการเดินทางได้

การตรวจ RT-PCR เป็นการตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสด้วยการเก็บตัวอย่างเชื้อจากสารคัดหลั่งบริเวณลำคอและหลังโพรงจมูกเช่นเดียวกับการตรวจแบบ ATK แต่จะต้องนำเชื้อไปวินิจฉัยผ่านห้องปฏิบัติการของโรงพยาบาลหรือสถานที่ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เท่านั้น จึงมีระยะเวลารอผลอย่างน้อย 24 ชั่วโมง แต่ข้อดีของการตรวจด้วยวิธีนี้คือถึงแม้เชื้อในร่างกายจะมีปริมาณน้อยก็สามารถตรวจพบเชื้อได้


สรุปได้ว่า สิ่งที่แตกต่างกันระหว่างการตรวจแบบ ATK กับ RT-PCR ก็คือ วิธีการตรวจเชื้อ สิ่งที่ตรวจ ระยะเวลารอผล ความแม่นยำของผลตรวจ และโอกาสการพบเชื้อนั่นเอง ซึ่งหากตรวจแบบ ATK แล้วผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) จะต้องทำการตรวจแบบ RT-PCR เพื่อยืนยันผลอีกครั้ง



ใครบ้างที่ควรตรวจโควิด-19 แล้วควรตรวจแบบไหนดี?

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ผู้ที่มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วย หรือผู้ที่เริ่มมีอาการต้องสงสัย ควรที่จะเข้ารับการตรวจโควิด-19 โดยแยกตามความเสี่ยงได้ดังนี้

  • กลุ่มความเสี่ยงสูง: ผู้มีประวัติสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19 โดยตรง หรือมีอาการต้องสงสัยชัดเจน มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน

✅ แนะนำให้ตรวจแบบ RT-PCR เพื่อยืนยันผล และทำการกักตัว 14 วัน

  • กลุ่มความเสี่ยงต่ำ: ผู้ที่มีอาการเล็กน้อยหรือไม่มีอาการ แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง

✅ แนะนำให้ตรวจแบบ ATK เพื่อคัดกรองเบื้องต้น และเฝ้าสังเกตอาการ 14 วัน



Doctor Anywhere ให้บริการตรวจโควิด-19 ถึงที่ โดยผู้เชี่ยวชาญ พร้อมชุดตรวจและเครื่องมือที่รับรองมาตรฐานทางการแพทย์






 

ดู 8,101 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page