top of page

8 วิธีรับมือกับอาการตื่นตระหนกฉับพลันจาก “โรคแพนิก”

หลาย ๆ ท่านคงคุ้นเคยกับคำว่า “แพนิก” ที่เรามักใช้กันเวลาเกิดความวิตกกังวลกับเหตุการณ์ต่าง ๆ เช่น เวลาทำของมีค่าหาย หรือเวลาได้รับมอบหมายให้ทำงานสำคัญ ส่งผลให้เกิดความเครียด วิตกกังวลต่าง ๆ บทความนี้เราจะมาทำความรู้จักกับโรคแพนิก (Panic Disorder) รวมถึงอาการ และวิธีการรับมือ

โรคแพนิกคืออะไร?

โรคแพนิก หรือโรคตื่นตระหนก เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่งที่ผู้ป่วยจะรู้สึกกังวลอย่างไม่มีสาเหตุ แตกต่างจากโรควิตกกังวลที่มีปัจจัยมาจากสิ่งรอบตัว ได้แก่ ปัญหาเรื่องงาน ครอบครัว หรือสุขภาพ เป็นต้น ผู้ป่วยโรคแพนิกจะรู้สึกตื่นกลัวอย่างรุนแรงและจะสงบลงไปเองภายในเวลา 10-ุ60 นาที โดยประมาณ


อาการของโรคแพนิก

อาการเบื้องต้นที่พบทั่วไปในผู้ป่วยโรคแพนิกมีดังนี้

  • มีอาการใจสั่น ใจหายวาบ เจ็บหน้าอก แน่นหน้าอก

  • เริ่มหายใจไม่ออก หายใจติดขัดเหมือนขาดอากาศ

  • ตัวสั่น มือสั่น เหงื่อแตก รู้สึกร้อน ๆ หนาว ๆ

  • มีอาการคลื่นไส้ วิงเวียน

  • รู้สึกชาตามร่างกาย จะเป็นลม

  • รู้สึกกลัวจนควบคุมตัวเองไม่ได้

ควรเข้ารับการรักษาหรือไม่?

ถึงแม้ว่าผู้ป่วยจะหายจากอาการแพนิกได้เอง แต่หากไม่เข้ารับการรักษาหรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญอย่างจริงจัง ก็อาจส่งผลเสียต่อตัวผู้ป่วยเอง เช่น มีความหวาดกลัวที่จะอยู่คนเดียว เพราะหากเกิดอาการขึ้นมาจะไม่มีคนคอยช่วยเหลือ หรือแม้กระทั่งหวาดกลัวที่จะทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันเช่น การข้ามถนน, การขึ้นเรือ, หรือการข้ามสะพานลอย เป็นต้น


8 วิธีรับมือกับโรคแพนิก

  1. ปรึกษาแพทย์ หากเพิ่งมีอาการเป็นครั้งแรก แล้วไม่แน่ใจว่าตัวเองเป็นโรคแพนิกหรือเปล่า ให้รีบไปปรึกษาแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยอาการ จะได้ทำการรักษาได้ทันท่วงที ซึ่งในปัจจุบันคุณสามารถปรึกษาแพทย์ได้ที่โรงพยาบาลหรือปรึกษาผ่านช่องทางออนไลน์ ในส่วนของ Doctor Anywhere เอง ก็มีบริการให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิตออนไลน์เช่นกัน สำหรับผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ที่นี่

  2. ตั้งสติ หากอาการแพนิกเกิดขึ้นอย่างไม่ทันตั้งตัว ให้พยายามตั้งสติ หาที่นั่งพักพร้อมสูดหายใจเข้าออกลึก ๆ ให้อาการสงบลงไปเอง

  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ การอดนอนหรือนอนน้อย นอกจากจะส่งผลเสียด้านสุขภาพอื่น ๆ แล้ว ยังมีผลเสียต่อโรคแพนิกอีกด้วย เพราะจะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบได้ง่าย

  4. หาสาเหตุที่กระตุ้นอาการแพนิก ผู้ป่วยโรคแพนิกจะมีสาเหตุของอาการแตกต่างกันไป หากรู้ว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการ ก็จะช่วยให้แก้ปัญหาได้ตรงจุด

  5. หาคนที่ไว้ใจที่พร้อมจะเป็นผู้ฟังที่ดี เช่น เพื่อนสนิท ครอบครัว หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต เพราะการได้ระบายปัญหาออกไปบ้างก็จะช่วยรับมือกับโรคแพนิกได้เช่นกัน

  6. หากิจกรรมทำเพื่อเบนความสนใจ การหมกมุ่นหรือจดจ่อกับความกังวลมากไป ก็ยิ่งทำให้จิตตก ทางออกที่ดีคือหากิจกรรมทำเพื่อเปลี่ยนจุดโฟกัสของตัวเอง เช่น ออกกำลังกาย, เข้าฟิตเนส, ดูซีรีย์สนุก ๆ หรือรายการบันเทิงทาง Youtube, ปลูกต้นไม้ฟอกอากาศในบ้าน, หรืออ่านหนังสือ เป็นต้น

  7. ฝึกผ่อนคลายความเคลียด เช่น เล่นโยคะ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อและความเครียดในแต่ละวัน, ฝึกนั่งสมาธิให้จิตใจสงบ, หรือทำงานอดิเรกที่ช่วยให้ผ่อนคลาย

  8. เข้ารับการรักษาจากแพทย์อย่างต่อเนื่อง แพทย์อาจมีการจัดยาหรือให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วยโรคแพนิกได้ดีกว่า ดังนั้น หากต้องการรักษาโรคนี้อย่างจริงจัง ควรพบแพทย์และรับการรักษาอย่างสม่ำเสมอ

โรคแพนิกแม้จะดูไม่ร้ายแรง แต่หากไม่เข้ารับการรักษา ผู้ป่วยอาจใช้ชีวิตได้ยากลำบากขึ้น เพราะไม่รู้ว่าอาการจะกำเริบเมื่อไหร่ ทางที่ดีควรเข้ารับการปรึกษากับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือทำตามข้อแนะนำทั้ง 8 ข้อที่กล่าวไป ทั้งนี้ปัจจุบันยังมีแอปพลิเคชันปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตมากมาย สะดวกสบายเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สะดวกเดินทางไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาล สำหรับท่านใดที่สนใจบริการปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิตออนไลน์จาก Doctor Anywhere สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่นี่



ที่มา:




2,010 views0 comments
bottom of page