top of page

HOW TO กินอย่างไรในช่วงมีประจำเดือน? - คุยกับนักกำหนดอาหาร

Updated: Mar 30, 2021

คุยกับคุณปาน นักกำหนดอาหารผู้เชี่ยวชาญจาก Eat Well Comcept

ต่อเนื่องจากวันสตรีสากลที่ผ่านมาเมื่อสัปดาห์ก่อน ทาง Doctor Anywhere จึงได้นัดสัมภาษณ์คุณปาน ปวีณา วงศ์อัยรา นักกำหนดอาหารจาก Eat Well Comcept เพื่อพูดคุยเรื่องสุขภาพของผู้หญิง ซึ่งคุณปานเองก็ยังเป็นผู้ให้บริการบนแอป Doctor Anywhere อีกด้วยเช่นกัน ในหนวด 'Nutrition' หรือ 'ฟินอีท & ฟิตเฟิร์ม'


สำหรับทอปปิกที่เราจะพูดคุยกับคุณปานก็จะโฟกัสไปที่เรื่องของผู้หญิง และหนึ่งในปัญหากวนใจของสาว ๆ คงหนีไม่พ้นอาการต่าง ๆ ในช่วงมีประจำเดือน ไม่ว่าจะเป็นการกินเยอะมากกว่าปกติ อาการรู้สึกเครียด รู้สึกดาวน์ต่าง ๆ ว่าแล้วก็ไปคุยกับคุณปานกันเลย


สรุปสาระสำคัญในบทความ

  • คาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลช่วยให้อารมณ์ดาวน์ ๆ ในช่วงมีประจำเดือนดีขึ้น

  • เรายังกินเยอะได้ในช่วงมีประจำเดือน แต่ต้องเลือกประเภทอาหารนิดนึง

  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ กระตุ้นให้เกิดอาการ PMS (Premenstrual Syndrome)

  • การเดินเร็วหรือออกกำลังกายปานกลาง ช่วยทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้นได้ในช่วงมีประจำเดือน

  • กิจกรรมบรรเทาอาการหงุดหงิด ได้แก่ การนวด นั่งสมาธิ ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือโยคะ

  • สมุนไพรที่มีงานวิจัยว่าช่วยบรรเทาอาการ PMS ได้แก่ ขมิ้นชันและเปปเปอร์มินต์


Q: ทำไมเราถึงกินเยอะช่วงมีประจำเดือน?

"เพราะว่าช่วงที่มีประจำเดือนเป็นช่วงที่ฮอร์โมนร่างกายมีความแปรปวน ไม่ว่าจะเป็นโปรเจสเตอโรนหรือว่าเอสโตรเจน ส่งผลให้ร่างกายอยากกินอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเพิ่มขึ้น ซึ่งพวกคาร์โบไฮเดรตและน้ำตาลนี่แหละเป็นสารอาหารที่กินเข้าไปแล้วจะช่วยบรรเทาอารมณ์หรืออาการเหนื่อยล้า หรืออารมณ์ดาวน์ ๆ ลงไปได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีประจำเดือน" - คุณปาน ปวีณา วงศ์อัยรา


Q: มีวิธีควบคุมการกินเยอะในช่วงมีประจำเดือนไหม?

"อย่างแรกเลยนะคะ ที่เรากินเยอะเพราะว่าฮอร์โมนมันเปลี่ยน เพราะฉะนั้นเราก็ไม่ต้องนอยไม่ต้องดาวน์ แล้วก็หันไปมองหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพเพิ่มขึ้น เรายังกินเยอะได้นะคะ แต่ต้องเลือกประเภทอาหารนิดนึง แล้วก็แนะนำว่าควรจะเลือกอาหารที่เป็นคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนนะคะ จะมีในพวก ข้าวกล้อง ข้าวไม่ขัดสี หรือผักประเภทต่าง ๆ หรือจะเป็นถั่วก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นถั่วลิสง ถั่วลันเตา ถั่วแดง


แต่ถ้าใครเป็นสายหวาน อยากกินอาหารที่เพิ่มความสดชื่นให้แก่ร่างกาย ให้เลือกทานเป็นพวกผลไม้ต่าง ๆ ได้ อาจจะเป็นผลไม้แช่เย็นก็ได้ ไม่ว่าจะเป็นกีวี่ ส้ม แตงโม ที่เอามาแช่เย็นก็ถือเป็นลักษณะของอาหารที่มีคาร์โบไฮเดรต มีน้ำตาลอยู่ แต่ยังดีกว่าลักษณะของน้ำหวานหรือว่าน้ำผลไม้หรือว่าขนมต่าง ๆ"

- คุณปาน ปวีณา วงศ์อัยรา


Q: วิธีแก้อาการหงุดหงิดในช่วงมีประจำเดือนนอกจากการกิน

"ไม่ใช่แค่เรื่องกินเรื่องเดียวที่ทำให้อารมณ์ของสาว ๆ ในช่วงวันนั้นของเดือนดีขึ้น การเดินเร็วหรือการที่เราออกกำลังกายปานกลาง ก็จะช่วยทำให้ร่างกายหลั่งสารความสุขที่เรียกว่าเอ็นโดฟินมาช่วยทำให้อารมณ์ของเราดีขึ้นได้


นอกจากนี้แล้วเรายังสามารถเพิ่มกิจกรรมต่าง ๆ ที่ทำให้เราคลายความเครียดลงไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการหายใจลึก ๆ การนวด การนั่งสมาธิ การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ หรือว่าไปเล่นโยคะก็ได้"

- คุณปาน ปวีณา วงศ์อัยรา


Q: แนะนำการกินแก้อาการ PMS (Premenstrual Syndrome)

"สำหรับใครที่มีปัญหาเรื่องของอาการปวดท้อง ปวดหัว ในช่วงที่มีประจำเดือนหรือว่าภาวะอาการที่เรียกว่า PMS (Premenstrual Syndrome) หรือกลุ่มอาการก่อนที่มีประจำเดือน ซึ่งเจอได้เกือบ 80% ของผู้หญิงเลยนะคะ แล้วก็พบว่าอาหารบางกลุ่มที่จะกระตุ้นทำให้เกิดอาการ PMS ได้ค่อนข้างชัดเจนก็คือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่าง ๆ


ส่วนอาหารที่แนะนำให้ทานในช่วงที่มีประจำเดือนจะเป็นลักษณะของคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อนที่ได้กล่าวไป ไม่ว่าจะเป็นผลไม้ ผักใบเขียวและที่สำคัญเลยควรดื่มน้ำเปล่าให้เพียงพอในแต่ละวัน หรืออาจจะทำกับข้าวมีที่สมุนไพรประเภทต่าง ๆ ที่มีงานวิจัยว่าพอช่วยบรรเทาอาการ PMS ไม่ว่าจะเป็นขมิ้นชันหรือว่าเปปเปอร์มินต์นั่นเอง"

- คุณปาน ปวีณา วงศ์อัยรา

 

ต้องขอขอบคุณ 'คุณปาน' ที่สละเวลามาเป็น Special Guest ให้กับ Doctor Anywhere Thailand เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับสาว ๆ ที่กำลังประสบปัญหาต่าง ๆ ในช่วงมีประจำเดือน ใครที่รู้สึกผิดที่ตัวเองกินเยอะมาก ๆ ในช่วงวันนั้นของเดือน ก็สบายใจได้เลย เพราะคุณปานบอกแล้วว่าเราสามารถกินเยอะได้ เพราะการกินช่วยให้เรารู้สึกดีขึ้น แต่ควรเลือกกินของที่มีประโยชน์ หรือไม่ก็หากิจกรรมผ่อนคลายบรรเทาอาการ


ฟังการสัมภาษณ์เต็ม ๆ กับนักกำหนดอาหารได้ที่นี่

 

ปรึกษาเรื่องการกินบนแอป Doctor Anywhere

ท่านใดที่ต้องการปรึกษาด้านโภชนาการโดยนักกำหนดอาหารผู้เชี่ยวชาญ สามารถทำตามขั้นตอนได้ดังนี้

  1. ดาวน์โหลดและลงทะเบียนบนแอป Doctor Anywhere (iOS | Android)

  2. เข้าหน้าแอปเลือก 'บริการ' > 'รับคำปรึกษาทางออนไลน์' > 'ฟินอีท & ฟิตเฟิร์ม'

  3. จากค้นหานักโภชนาการที่ต้องการปรึกษา เพื่อเลือกทำการนัดหมายตามวันและเวลาที่สะดวก โดยจะนัดหมายได้เฉพาะผู้เชี่ยวชาญที่ได้ทำการลงเวลาว่างไว้เท่านั้น

  4. ค่าบริการปรึกษาต่อครั้ง 350 บาท / 15 นาที

 

ทำไมถึงต้องปรึกษากับ Doctor Anywhere?

ที่ Doctor Anywhere เรามีผู้เชี่ยวชาญรองรับการให้บริการปรึกษาออนไลน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น แพทย์ผู้ชำนาญทั่วไป, นักจิตวิทยาหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพจิต, และนักกำหนดอาหาร


ข้อดีของการปรึกษาออนไลน์บนแอป DoctorAnywhere

ไม่ต้องเสียเวลาเดินทาง รวมถึงการรอคิวต่าง ๆ

ลดภาระค่าใช้จ่ายในการเดินทาง (ค่ารถ/ค่าน้ำมัน/ค่าทางด่วน)

สะดวกสบาย มีบริการส่งยาให้ถึงบ้าน

ไม่คิดค่าใช้จ่าย หากแพทย์มีความเห็นว่าโรคของคุณไม่เหมาะกับการวินิจฉัยออนไลน์

บริการหลากหลายทั้ง ปรึกษาโรคทั่วไป, สุขภาพจิต, ความงาม, และโภชนาการ


Comentarios


bottom of page