หลังจากที่ประเทศไทยได้รับวัคซีน 2 ชนิดพร้อม ๆ กันเมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2564 โดยได้รับ 2 แสนโดสจากกบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค และ 1 แสนโดสจากบริษัทแอสตราเซนเนกา ในบทความนี้ Doctor Anywhere Thailand ได้รวบรวมหัวข้อต่าง ๆ ที่อาจเป็นข้อสงสัยของหลาย ๆ ท่านมาไว้ทั้งหมด 14 หัวข้อด้วยกันดังนี้
1) ไทม์ไลน์ของ 'วัคซีนซิโนแวค' ที่ไทยสั่งซื้อมา
ประเทศไทยได้ทำการสั่งซื้อวัคซีนโควิด ชื่อว่า ‘โคโรนาแวค’ จำนวน 2 ล้านโดส ผลิตโดยบริษัทซิโนแวค ไบโอเทค ประเทศจีน โดยจะทยอยนำเข้ามาทั้ง 3 รอบ ดังนี้
• รอบที่หนึ่ง: 2 แสนโดส (เดือนกุมภาพันธ์ 2564)
• รอบที่สอง: 8 แสนโดส (เดือนมีนาคม 2564)
• รอบที่สาม: 1 ล้านโดส (เดือนเมษายน 2564)
2) วัคซีนโควิดจากบริษัทซิโนแวคผ่านการรับรองจาก อย. หรือไม่?
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2564 ‘วัคซีนโคโรแวค’ จากบริษัทซิโนแวค ได้ผ่านการรับรองจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ประเทศไทย เรียบร้อยแล้ว
3) ใคร ‘ไม่เข้าเกณฑ์’ ในการรับวัคซีคซิโนแวคบ้าง?
• เด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
• ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
• ผู้ที่มีอาการแพ้ส่วนประกอบในวัคซีน
• สตรีมีครรภ์และสตรีให้นมบุตร (ควรได้รับการปรึกษาจากแพทย์เป็นรายคน)
4) ทำไมเด็กต่ำกว่า 18 และผู้สูงอายุเกิน 60 ถึงไม่เข้าเกณฑ์การรับวัคซีนซิโนแวค?
เนื่องจากวัคซีนซิโนแวคเป็นวัคซีนตัวใหม่ ซึ่งมีการศึกษาในผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ในจำนวนน้อยมาก ๆ จึงต้องรอให้มีข้อมูลและการศึกษาผลมากพอก่อนที่จะขยับให้ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปสามารถเข้ารับวัคซีนนี้ได้ เช่นเดียวกันกับเด็กอายุต่ำกว่า 18 ปี
5) ผู้สูงอายุสามารถฉีดวัคซีนจากบริษัทแอสตราเซนเนกาได้หรือไม่?
ผู้สูงอายุสามารถรับวัคซีตแอสตราเซนเนกาได้ โดยวัคซีนดังกล่าวจะช่วยเติมเต็มช่องว่างสำหรับผู้ที่ไม่สามารถรับวัคซีนซิโนแวคได้ซึ่งรวมถึงผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป
6) วัคซีนโควิดที่ไทยจะผลิตเองคืออะไร?
ประเทศไทยจะดำเนินการผลิตวัคซีนโควิด-19 จำนวน 26 ล้านโดส โดยบริษัทสยามไบไซเอนซ์จะเป็นผู้ผลิต ทั้งนี้ วัคซีนดังกล่าวได้รับการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตจากมหาวิทยาลัยอ็อกซ์ฟอร์ดและบริษัทแอสตราเซนเนก้า ซึ่งจะเริ่มทยอยส่งมอบวัคซีนล็อตแรกในเดือนพฤษภาคม 2564
7) วัคซีนโควิดมีกี่ชนิด?
วัคซีนโควิดมีทั้งหมด 3 ชนิด ได้แก่ 1) วัคซีนชนิด mRNA, 2) วัคซีนชนิด Vector Virus, และ 3) วัคซีนเชื้อตาย
• วัคซีนชนิด mRNA: หลักการทำงานของวัคซีน mRNA คือการฉีดสาร (พันธุกรรมโมเลกุล: mRNA) เข้าไปในร่างกายเพื่อให้ร่างกายเป็นแหล่งผลิตโปรตีน หลังจากนั้นร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานเพื่อสู้กับเชื้อไวรัส
• วัคซีนชนิด Vector Virus: หลักการทำงานเป็นการนำสารพันธุกรรมของไวรัสเข้าไปใส่ในไวรัสที่เป็นตัวฝากอีกที โดยไวรัสที่เป็นตัวฝากจะไม่ทำให้เกิดโรคในมนุษย์ เมื่อฉีดเข้าไป ร่างกายจะสร้างโปรตีนเพื่อกระตุ้นการสร้างภูมิต้านทานเช่นเดียวกับวัคซีนชนิด mRNA
• วัคซีนเชื้อตาย: วัคซีนเชื้อตาย เป็นประเภทของวัคซีนที่ผลิตขึ้นจากเชื้อโรคทั้งตัวหรือบางส่วนของเชื้อ ทำงานโดยการกระตุ้นให้ร่างกายมนุษย์สร้างภูมิต้านทานเพื่อป้องกันเชื้อโควิด-19 ซึ่งวัคซีน ‘โคโรนาแวค’ จากบริษัทซิโนแวค ที่ไทยนำเข้ามาจะเป็นวัคซีนประเภทเชื้อตาย
8) วัคซีนโควิดที่จะใช้ในประเทศไทยมีชนิดใดบ้าง?
วัคซีนโควิดที่ใช้ในประเทศไทยมี 2 ชนิด ได้แก่ วัคซีนเชื้อตาย ที่สั่งซื้อจากบริษัทซิโนแวค, และวัคซีนประเภท Vector Virus ที่ไทยจะผลิตเอง
9) ทำไมไทยถึงไม่นำเข้าวัคซีนประเภท mRNA?
วัคซีนชนิด mRNA มีข้อจำกัดในด้านการจัดเก็บรักษา เนื่องจากการเก็บรักษาต้องแช่แข็งในอุณหภูมิติดลบ 20-70 องศา ทำให้ไม่เหมาะแก่การขนส่งมายังประเทศไทย ในปัจจุบันบริษัทที่ผลิตวัคซีนประเภท mRNA ได้แก่ บริษัทไฟเซอร์และบริษัทโมเดอนา
10) ค่าใช้จ่ายในการฉีดวัคซีนโควิด
คนไทยจะได้รับการฉีดวัคซีนโดยรัฐ ฟรี ไม่น้อยกว่า 50% ของจำนวนประชากร หรือประมาณ 70 ล้านโดส
11) ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนโควิด
ผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีนจะเป็นอาการทั่ว ๆ ไป ไม่รุนแรง เช่น อาการแพ้เล็กน้อย, เจ็บปวดบริเวณที่ฉีด, และมีไข้ขึ้นเล็กน้อย เป็นต้น
12) แผนการฉีดวัคซีนโควิดในไทย
แผนการฉีดวัคซีนโควิดในไทยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ได้แก่
• ระยะที่หนึ่ง: ในช่วงที่วัคซีนมีปริมาณจำกัด (จำนวน 2 ล้านโดส) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ บุคคลากรทางการแพทย์, ผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง, ผู้สูงอายุตั้งแต่ 60 ขึ้นไป, และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมโรคโควิด-19
• ระยะที่สอง: เมื่อวัคซีนมีเพียงพอต่อความต้องการ (จำนวน 61 ล้านโดส) กลุ่มเป้าหมายได้แก่ กลุ่มเป้าหมายในระยะที่ 1, ผู้ประกอบอาชีพด้านการท่องเที่ยว, และผู้ที่ต้องเดินทางระหว่างประเทศ เป็นต้น
13) ฉีดวัคซีนแล้วมีโอกาสติดเชื้อโควิด-19 อีกหรือไม่?
ผู้ที่ได้รับวัคซีนแล้วยังคง ‘มีโอกาส’ ที่จะติดเชื้อโควิด-19 แต่ความรุนแรงจะน้อยลง ลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิต อาการเหมือนเป็นโรคไข้หวัดทั่วไป
14) ติดเชื้อโควิด-19 จนหายดีแล้ว ควรฉีดวัคซีนหรือไม่?
ผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 และหายดีแล้ว ร่างกายจะสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาโดยอัตโนมัติ แต่ภูมิต้านทานจะค่อย ๆ ลดลงไปหลังจาก 6 เดือน ดังนั้นหากผู้ที่เคยติดเชื้อโควิด-19 ต้องการรับวัคซีน ควรฉีดหลังจากหายดีแล้วหลัง 6 เดือนขึ้นไป
ทั้งหมดนี้คือ 14 หัวข้อที่เราได้สรุปจากแหล่งข่าวต่าง ๆ ที่น่าเชื่อถือมาให้ทุกท่าน ท่านสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ในลิงก์ ‘ที่มา’ ด้านล่างนี้ หากต้องการติดตามข่าวสารเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยสามารถเข้าชมได้ที่นี่
ที่มา:
https://www.fda.moph.go.th/Pages/Document/News_P/%E0%B8%AD%E0%B8%A2.%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99.pdf
https://www.doh.wa.gov/Portals/1/Documents/1600/coronavirus/GettingVaccinated-Thai.pdf
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/917767
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/february-2021/covid-19-vaccinations
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%AA%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%9E/142606?utm_source=web_pptv&utm_medium=relatelink_1&utm_campaign=139519
https://www3.dmsc.moph.go.th/post-view/972
https://www.hfocus.org/content/2020/05/19409
https://www.hfocus.org/content/2021/02/21129
http://www.khonkaenram.com/th/services/health-information/health-articles/vaccine
https://www.bpl.co.th/pweb/index.php/academic-professional/knowledge/526-19-29.html
http://www.dent.chula.ac.th/upload/news/1620/file_1_3836.pdf
https://www.prachachat.net/general/news-588454
https://www.hfocus.org/content/2021/02/21040
Commentaires