top of page
Bhawna Bijlani

'ระบบทางเดินปัสสาวะ' สำคัญกว่าที่คิด หากผิดปกติต้องปรึกษาแพทย์!


ระบบต่างๆ ในร่างกายมีหน้าที่และความสำคัญแตกต่างกันไป หลายคนให้ความสำคัญกับระบบอื่นๆ ที่มองเห็นได้ชัดจนมองข้ามความสำคัญของระบบทางเดินปัสสาวะ



ระบบทางเดินปัสสาวะสำคัญอย่างไร? ทำหน้าที่อะไรบ้าง?

‘ระบบทางเดินปัสสาวะ’ เป็นระบบที่สำคัญต่อร่างกายมาก เพราะทำหน้าที่ขับของเสียและสารต่างๆ ที่เกินความต้องการออกไป เป็นการรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย ควบคุมความดันเลือด ปริมาตรเลือด และค่าความเป็นกรดเบสของเลือดอีกด้วย จึงถือได้ว่าระบบทางเดินปัสสาวะเป็นเหมือนระบบบำบัดน้ำเสียของร่างกาย หากมีความผิดปกติเกิดขึ้น จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อสุขภาพโดยรวม



โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะที่พบบ่อย

  • โรคนิ่วในไตและท่อไต เป็นการตกตะกอนของสารต่างๆ ในปัสสาวะที่สะสมจนกลายเป็นก้อนแข็งขนาดเล็กๆ ตกลงมาอยู่ในท่อไต

  • โรคนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการขับปัสสาวะออกมาไม่หมดซึ่งอาจเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ท่อปัสสาวะตีบตัน เกิดการตกตะกอนในระยะยาวกลายเป็นก้อนนิ่ว

  • โรคติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียบริเวณรอบท่อปัสสาวะ ทำให้เกิดการอักเสบที่อวัยวะต่างๆ ได้แก่ ท่อปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ และกรวยไต

  • โรคไตเรื้อรัง เป็นภาวะที่ไตถูกทำลายอย่างช้าๆ เป็นระยะเวลานาน ซึ่งมีสาเหตุจากปัจจัยอื่นๆ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคอ้วน หรือสภาวะอื่นๆ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของไตลดลงจนไม่สามารถกรองเลือดได้ตามปกติ ทำให้เกิดของเสียสะสมในร่างกาย

  • โรคมะเร็งระบบทางเดินปัสสาวะ สามารถเกิดขึ้นได้ที่อวัยวะหลายส่วน

  • มะเร็งไต เกิดจากการสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน และการสัมผัสสารเคมีบางอย่าง

  • มะเร็งท่อไต พบได้ไม่บ่อย แต่มีอาการร่วมเช่นเดียวกับมะเร็งอื่นๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ

  • มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ เกิดจากการสูบบุหรี่ การสัมผัสสารเคมีต่อเนื่องเป็นเวลานาน และการติดเชื้อระคายเคืองในกระเพาะปัสสาวะแบบเรื้อรัง

  • มะเร็งต่อมลูกหมาก ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุการเกิดที่แน่ชัด แต่หลักๆ มักเกิดกับผู้ชายอายุ 50 ปีขึ้นไป ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งต่อมลูกหมาก และพฤติกรรมการกินอาหารจำพวกเนื้อแดง

  • โรคต่อมลูกหมากโต เป็นภาวะที่ต่อมลูกหมากมีขนาดใหญ่ผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุและไปกดทับท่อปัสสาวะให้เล็กลง ทำให้ปัสสาวะติดขัด ต้องปัสสาวะบ่อยขึ้นหรือรู้สึกปวดปัสสาวะกะทันหัน แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจจะไม่แสดงอาการ

  • การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ เป็นภาวะที่อวัยวะเพศชายไม่สามารถแข็งตัวได้อย่างสมบูรณ์ มีสาเหตุจากปัญหาทางอารมณ์ สภาพจิตใจ สภาวะที่มีผลกระทบต่อสมอง และการเปลี่ยนแปลงด้านฮอร์โมน


แนวทางป้องกันโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินปัสสาวะเบื้องต้น

  • หลีกเลี่ยงการกลั้นปัสสาวะโดยไม่จำเป็น

  • ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพออย่างน้อยวันละ 8-10 แก้ว

  • รักษาความสะอาด และทำความสะอาดอวัยวะเพศทุกครั้งหลังปัสสาวะและอุจจาระ

  • ควบคุมเรื่องอาหาร ควบคุมปริมาณการกินเนื้อสัตว์ ไขมัน และหลีกเลี่ยงอาหารโซเดียมสูง

  • เลี่ยงปัจจัยเสี่ยงที่ทำร้ายสุขภาพ อย่างการสูบบุหรี่ ดื่มแอลกอฮอล์ และการสัมผัสสารเคมี

  • หากมีอาการผิดปกติรุนแรง ควรรีบปรึกษาแพทย์เฉพาะทางเพื่อทำการวินิจฉัยหาสาเหตุและรักษาตามอาการอย่างเหมาะสม



แพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะคือใคร? รักษาอะไรบ้าง?

แพทย์เฉพาะทางด้านระบบทางเดินปัสสาวะ เรียกว่า ‘ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ’ เป็นแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญในการวินิจฉัยและรักษาโรคที่ผิดปกติของระบบทางเดินปัสสาวะ กระเพาะปัสสาวะ ท่อปัสสาวะ ต่อมลูกหมากโต ไปจนถึงมะเร็งที่อวัยวะต่างๆ ของระบบทางเดินปัสสาวะ และปัญหาเกี่ยวกับอวัยวะเพศทั้งชายและหญิง อีกทั้งยังให้คำปรึกษาปัญหาการหย่อนสมรรถภาพทางเพศ




ปรึกษา ‘ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ’ ผ่านวิดีโอคอลได้ง่ายๆ

ข้อมูลและคำปรึกษาทั้งหมดจะถูกเก็บเป็นความลับ สามารถนัดปรึกษาที่ไหน เมื่อไหร่ก็ได้ ตามต้องการ

ค่าบริการเริ่มต้นเพียง 450 บาทต่อครั้ง


  1. ดาวน์โหลด และลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere

  2. เลือก ‘ปรึกษาแพทย์เฉพาะทาง’

  3. เลือก ‘ศัลยแพทย์ทางเดินปัสสาวะ’ ทำการเลือกแพทย์ที่ต้องการจะปรึกษา

  4. ทำการนัดหมายวัน/เวลา ที่สะดวก


 


3,012 views0 comments

Recent Posts

See All

Comments


bottom of page