top of page

ทำความรู้จักกับ 'Omicron' โควิดสายพันธุ์ใหม่ อันตรายแค่ไหน?


อย่างที่ทุกคนทราบว่าตอนนี้ไวรัสโควิด-19 ได้พัฒนาตัวเองเป็นสายพันธุ์ใหม่ นั่นก็คือ 'โอมิครอน' (Omicron) ซึ่งเป็นสายพันธุ์ที่องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้อยู่ในกลุ่มสายพันธุ์ที่น่ากังวลเป็นชนิดที่ 5 หลังจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์อัลฟา, เบตา, แกมมา และเดลตา



ทำความรู้จักกับ ‘Omicron’

โอมิครอน เป็นเชื้อที่มีการกลายพันธุ์ของยีนต่างจากสายพันธุ์อื่นๆ เป็นอย่างมาก สามารถกลายพันธุ์ได้ถึง 50 ตำแหน่ง โดยไวรัสจะยึดกับเซลล์ของคนได้มากกว่า 10 จุด ในขณะที่เทียบกับสายพันธุ์เดลต้ามีเพียง 2 จุดเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันได้ดีอีกด้วย จึงเป็นเชื้อที่แพร่กระจายได้ง่ายกว่าสายพันธุ์อื่นๆ และมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้



อาการเบื้องต้น เมื่อได้รับเชื้อ ‘Omicron’

  • อาการอาการบ่งชี้แรกเริ่ม:

เริ่มจากมีน้ำมูก จาม ปวดหัว ต่อมาจะรู้สึกอ่อนเพลีย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เจ็บคอ บางคนมีเหงื่อออกในตอนกลางคืนร่วมด้วย

หากมีอาการเหล่านี้ ถือว่ามีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน ควรรีบทำการตรวจเพื่อยืนยันผล

  • สำหรับอาการผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอมิครอน:

ส่วนใหญ่ผู้ที่ฉีดวัคซีนแล้ว หากติดเชื้อจะมีอาการเพียงเล็กน้อยหรือแทบไม่แสดงอาการเลย ซึ่งอาการที่พบได้ในผู้ป่วย ได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ปวดกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อยเนื้อตัว ไม่ค่อยมีไข้ จมูกยังได้กลิ่น ลิ้นยังสามารถรับรสได้ อาจมีอาการไอเล็กน้อย ปอดอักเสบ

และยังมีอีก 5 อาการที่พบว่ามีความแตกต่างต่างสายพันธุ์อื่นๆ ได้แก่ เจ็บคอ ป่วยกล้ามเนื้อเล็กน้อย เหนื่อยมาก ไอแห้ง เหงื่อออกมากตอนกลางคืน




การรักษาผู้ติดเชื้อโอมิครอน

ผู้ติดเชื้อโอมิครอน สามารถรักษาให้อาการดีขึ้นได้ด้วยยาฟาวิพิราเวียร์ ซึ่งจะช่วยให้อาการดีขึ้นได้ภายใน 24 - 72 ชั่วโมง


ป้องกันการติดเชื้อโอมิครอนอย่างไรได้บ้าง?

  • ฉีดวัคซีน ให้ครบ 2 เข็ม และควรได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 3 ด่วน โดยเว้นระยะห่าง 3 เดือนจากเข็มที่ 2

  • สวมหน้ากากอนามัยที่ได้มาตรฐานเท่านั้น แนะนำใส่เป็นหน้ากากอนามัยทางการแพทย์ 3 ชั้น จึงจะมีประสิทธิภาพป้องกันโอมิครอนได้

  • หลีกเลี่ยงการสัมผัสใบหน้า ตา จมูก และปาก และพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย

  • ล้างมือบ่อยๆ ด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่

  • รักษาระยะห่างกับคนอื่น และเลี่ยงการอยู่ในที่แออัด อากาศไม่ถ่ายเท

  • ระมัดระวังและสังเกตอาการตัวเองและคนรอบข้างอยู่เสมอ


หากมีอาการผิดปกติเกิดขึ้น ทำอย่างไร?

  • ผู้ป่วยเรื้อรังและผู้สูงอายุ ควรรีบพบแพทย์ทันที

  • ผู้ที่สัมผัสเสี่ยงหรือไปพื้นที่เสี่ยง ควรตรวจ ATK ทำการกักตัวให้ครบ 14 วัน และคอยสังเกตอาการ



Doctor Anywhere มีบริการตรวจ ATK ถึงที่ โดยผู้เชี่ยวชาญ

พร้อมชุดตรวจและเครื่องมือมาตรฐานการแพทย์



 


ดู 45 ครั้ง0 ความคิดเห็น
bottom of page