top of page
Writer's pictureDoctor Anywhere Thailand

แพทย์เตือน... ไลฟ์สไตล์แบบนี้ เสี่ยงไขมันในเลือดสูง!


ไขมันในเลือดมี 4 ประเภท


ไขมันในเลือดแบ่งออกเป็น 4 ประเภทหลัก ซึ่งแต่ละประเภทมีผลต่อสุขภาพแตกต่างกันไป ดังนี้:

  1. คอเลสเตอรอลรวม (Total Cholesterol): คอเลสเตอรอลรวมคือค่าของคอเลสเตอรอลทั้งหมดในเลือด ประกอบด้วยไขมันชนิดดี (HDL) และไขมันชนิดไม่ดี (LDL) ค่าคอเลสเตอรอลรวมสำคัญเพราะสามารถบอกภาพรวมความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบ อุดตัน โรคหลอดเลือดสมอง หรือเลือดไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ได้ไม่มีดีพอ รวมถึงความดันโลหิตสูงได้

  2. ไขมันดี (HDL - High-Density Lipoprotein): ไขมันดีเป็นตัวช่วยขจัดไขมันเลวออกจากหลอดเลือด ยิ่งมีไขมันดีสูงเท่าไรยิ่งดี เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงของโรคหัวใจและหลอดเลือดได้

  3. ไขมันเลว (LDL - Low-Density Lipoprotein): ไขมันชนิดนี้จะสะสมอยู่ในหลอดเลือด หากมากเกินไปอาจทำให้หลอดเลือดแข็งตัวและเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจได้ เพราะฉะนั่นไขมันตัวนี้ควรควบคุมไม่ให้สูงเกินไป

  4. ไตรกลีเซอไรด์ (Triglycerides): ไตรกลีเซอไรด์เป็นไขมันที่ร่างกายได้รับจากอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตและไขมัน หากมีระดับสูงอาจเพิ่มความเสี่ยงของโรคหัวใจและโรคหลอดเลือดได้เช่นกัน


ปัจจัยที่ทำให้ไขมันในเลือดสูง



ไลฟ์สไตล์ในปัจจุบันที่เพิ่มโอกาสเสี่ยงไขมันในเลือดสูง ได้แก่:

  1. บริโภคอาหารที่มีไขมันสูง เช่น อาหารทอด เนื้อสัตว์ติดมันหรืออาหารที่มีน้ำตาลและเกลือสูง การบริโภคเหล่านี้สะสมไขมันในร่างกายและอาจนำไปสู่การสะสมไขมันในหลอดเลือด

  2. ไม่ออกกำลังกาย: การนั่งทำงานหรือขาดการเคลื่อนไหวเป็นเวลานานๆ ทำให้การเผาผลาญของร่างกายลดลง ซึ่งส่งผลให้มีการสะสมของไขมันในเลือดมากขึ้น

  3. ดื่มแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่: ทั้งสองอย่างนี้มีผลต่อระดับไขมันในเลือดและการทำงานของหลอดเลือด ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด

  4. ภาวะอ้วนและน้ำหนักเกิน: การมีน้ำหนักเกินเพิ่มโอกาสการสะสมไขมันชนิดไม่ดีในร่างกายได้

  5. ปัจจัยทางพันธุกรรมคนที่มีครอบครัวหรือบรรพบุรุษที่มีปัญหาไขมันในเลือดสูงอาจเสี่ยงเช่นกัน


วิธีควบคุมไขมันในเลือด


หากต้องการควบคุมไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย สามารถทำตามคำแนะนำนี้ได้:

  1. เลือกทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: เน้นอาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ผัก ผลไม้ ธัญพืช ลดการทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง และหลีกเลี่ยงอาหารทอด

  2. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ: การออกกำลังกายช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL) และลดไขมันเลว (LDL) ควรออกกำลังกายอย่างน้อย 30 นาทีต่อวัน 3-5 วันต่อสัปดาห์

  3. หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่: การเลิกแอลกอฮอล์และบุหรี่จะช่วยให้การทำงานของหลอดเลือดและระดับไขมันในเลือดอยู่ในเกณฑ์ดีขึ้น

  4. ลดความเครียด: ความเครียดส่งผลต่อระดับไขมันในเลือด การหาวิธีผ่อนคลายเช่นการฝึกสมาธิหรือการพักผ่อนให้เพียงพอช่วยให้สุขภาพหัวใจดีขึ้น

  5. ตรวจสุขภาพเป็นประจำ: การตรวจสุขภาพและวัดระดับไขมันในเลือดอย่างสม่ำเสมอเป็นวิธีที่ดีในการป้องกันและควบคุมความเสี่ยงจากไขมันในเลือดสูง


เพราะการดูแลสุขภาพ เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะไขมัน ถ้าหากไม่ปรับพฤติกรรมให้ดีขึ้น ก็เสี่ยงที่จะเกิดโรคร้ายต่างๆ ได้ แพ็กเกจโปรแกรมตรวจสุขภาพของเรา ออกแบบโดยทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ครอบคลุมการตรวจวัดระดับไขมันในเลือด น้ำตาลในเลือด การทำงานของตับและไต พร้อมคำแนะนำเฉพาะบุคคลเพื่อปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ให้ห่างไกลจากโรคร้าย


ตรวจเช็คไขมันและอื่นๆที่จำเป็น เริ่มต้นเพียง 700 บาท!

141 views0 comments
bottom of page