top of page

ปวดหลังแบบไหน ควรรีบพบแพทย์?



อาการปวดหลังเกิดขึ้นได้อย่างไร



อาการปวดหลังเป็นอาการที่พบได้บ่อยในยุคปัจจุบันไม่เพียงแค่ผู้สูงอายุเท่านั้น แต่ยังพบได้ในคนวัยหนุ่มสาวชาวออฟฟิศที่ต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมเป็นเวลานาน โดยอาการปวดหลังเกิดจากปัจจัยดังนี้


  • ที่นอนที่แข็งหรือนิ่มเกินไป ไม่ถูกต้องตามสรีระ

  • การยกของหนัก ถือของหนัก ก้มยกของผิดวิธี

  • การสูบบุหรี่ เพราะสารนิโคตินทำให้หมอนรองกระดูกได้รับออกซิเจนน้อยลง จึงเสื่อมและยุบตัวเร็วกว่าปกติ

  • ภาวะกระดูกพรุนหรือบางเปราะ

  • ภาวะอ้วน หรือน้ำหนักตัวที่มากเกินไป ส่งผลใหห้มอนรองกระดูกสันหลังและก้นกบต้องรับภาระแบบน้ำหนักมากขึ้นกว่าคนน้ำหนักตัวปกติ

  • ออฟฟิศซินโดรม นั่งทำงานนานๆ หรืออยู่ในท่าทางการเคลื่อนไหวที่ผิดปกติ


ปวดหลัง ทำอย่างไรดี




1. ปรับท่านั่ง

ปรับท่านั่งทำงานให้ถูกต้อง ด้วยการฝึกนั่งตัวตรง นั่งให้เต็มก้น โดยหลังพิงพนักได้พอดี ปรับเก้าอี้ให้สูงพอเหมาะกับโต๊ะทำงาน โต๊ะไม่สูงหรือต่ำเกินไป ซึ่งเป็นสาเหตุของอาการปวดหลังเช่นกัน

2. ปรับความสูงของระดับคอมพิวเตอร์

ควรอยู่ในระดับสายตา ส่วนคีย์บอร์ดและเมาส์อยู่ในระดับต่ำลงเล็กน้อย ขณะพิมพ์งานจะได้ไม่ต้องยกไหล่มากเกินไป หรือต่ำจนต้องงอหลัง ทั้งนี้ควรลดแสงจ้าของจอลงให้รู้สึกสบายตา เพื่อลดความเครียด

3. หาที่วางเท้า

หากปรับที่นั่งให้เหมาะกับโต๊ะทำงาน แต่เท้าลอย ควรหาที่รองเท้า อาจใช้กล่องที่มีความแข็งแรงหรือสมุดโทรศัพท์เก่าหนุนเท้าให้ระดับเท้างอเป็นธรรมชาติ ไม่ลอยเกินไปหรือต้องงอเข่ามากเกินไป

4. ขยับร่าง

พยายามเปลี่ยนท่า ขยับร่างกายบ่อยๆ และอย่าลืมลุกขึ้นเดินทุกๆ ชั่วโมง เพื่อยืดร่างกาย อาจไปเข้าห้องน้ำ ดื่มน้ำ เดินไปสอบถามงานจากหัวหน้าหรือเพื่อนร่วมงาน

5. ยืดกล้ามเนื้อส่วนสะโพก

อาการปวดหลังพบได้บ่อยในคนที่นั่งทำงานเป็นเวลานานๆ เนื่องจากกล้ามเนื้อบริเวณสะโพก (Hip flexor) ซึ่งทำหน้าที่ในการงอสะโพกมาทางด้านหน้า หดสั้นจนเกิดการตึงตัว เมื่อยืนขึ้นทำให้เกิดการดึงรั้งที่กระดูกสันหลังส่วนล่าง ส่งผลให้เกิดอาการปวดหลัง ดังนั้นการยืดกล้ามเนื้อบริเวณนี้ สามารถทำได้โดยท่ากึ่งคุกเข่า (Half kneeling) ให้ขาข้างที่ต้องการยืดอยู่ข้างหลัง ส่วนข้างที่ไม่ต้องการยืดก้าวไปข้างหน้า จากนั้นให้ถ่ายน้ำหนักไปยังขาด้านหน้า โดยต้องรู้สึกตึงที่บริเวณสะโพกข้างตรงข้าม บางครั้งอาจรู้สึกตึงที่กระดูกสันหลังส่วนล่างด้วย แต่ต้องไม่มีอาการปวด


อาการปวดหลังสามารถเกิดได้บ่อยครั้งมากขึ้นในปัจจุบัน โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมพิวเตอร์ในท่าเดิมเป็นเวลานาน แต่ทว่า หากปวดหลังเป็นระยะเวลานาน หรือปวดจนมีผลกระทบต่อการใช้ชีวิต ปล่อยไว้อาจจะส่งผลเสียระยะยาวได้


ปวดหลังแบบไหน ควรปรึกษาแพทย์




  • มีอาการปวดหลังเรื้อรังนานกว่า 2-4 สัปดาห์

  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณเอว จะมีอาการปวดหลังร้าวลงขา อาจเป็นข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หากปล่อยทิ้งไว้จนเป็นหนักขึ้นกล้ามเนื้อขาจะอ่อนแรง ควบคุมการเดินไม่ได้

  • หากมีการกดทับเส้นประสาทบริเวณต้นคอ คนไข้จะมีอาการปวดคอร้าวลงแขน แขนอ่อนแรงหรือชา ไปจนถึงไม่สามารถควบคุมการใช้มือได้

  • เวลาไอ จาม หรือเบ่งจะรู้สึกปวดลึกๆ หรือมีอาการปวดร้าวไปแขนหรือขาได้ เนื่องจากเกิดแรงดันในไขสันหลัง


ปวดหลังบ่อย ๆ ปวดเป็นระยะเวลานานไม่หายเสียที ควรรีบปรึกษาแพทย์เมื่อวินิจฉัยสาเหตุอย่างตรงจุด หากเริ่มมีอาการปวดหลัง สามารถปรึกษาอาการเบื้องต้นเพื่อรับคำแนะนำจากผู้เชี่ยวชาญได้ที่แอป Doctor Anywhere แอปพลิเคชันปรึกษาหมอและผู้เชี่ยวชาญออนไลน์ ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์มนุษย์ออฟฟิศ ช่วยคุณประหยัดเวลาทั้งจากการเดินทางและการรอคิว


ขั้นตอนการรับบริการ

1. ดาวน์โหลดและลงทะเบียนแอป Doctor Anywhere

2. เลือกแพทย์ที่ต้องการจะปรึกษา

3. ทำการนัดหมายวัน/เวลา

4. กดสั่งซื้อยาออนไลน์ได้ทันทีหลังปรึกษาเสร็จ แล้วรอรับยาภายใน 3 ชม. ไม่มีค่าจัดส่ง


‘หากมีอาการผิดปกติ หรือมีปัญหาสุขภาพ อย่าลืมปรึกษาแพทย์ออนไลน์’ ผ่านแอป Doctor Anywhere

ดู 66 ครั้ง0 ความคิดเห็น

Commenti


bottom of page